แบบจำลองสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรและผลการปฏิบัติงานในแหล่งท่องเที่ยวเขตทหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทางสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและผลการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3) พัฒนาแบบจำลองสมรรถนะมัคคุเทศก์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและผลการปฏิบัติงาน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน( Mixed – Methods)ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรคือผู้ปฏิบัติงานมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวทหารจำนวน 640 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อยืนยันแบบจำลองคือผู้บริหารองค์กรการท่องเที่ยวจำนวน 5 คน เริ่มด้วยการศึกษาทฤษฎีกำหนดแบบจำลองนำมาวิเคราะห์ความสอดคล้อง ด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory Factor Analysis )ในรูปแบบสมการโครงสร้าง(Structure Equation Model: SEM) ผลการวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอยู่ระหว่าง.006-.850 ทุกคู่มีความสัมพันธ์ทางบวกโดย 1)ผลการปฏิบัติงานรับอิทธิพลทางตรงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 จากพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร 2) ผลการปฏิบัติงานรับอิทธิพลทางอ้อมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 จากการจัดการความรู้ ปัจจัยภายในองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติขนาดอิทธิพลมีค่าเท่ากับ.038
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ปี 2523- 2563.(2558).พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมการท่องเที่ยว.(2558).การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว2557-2560.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:
กรมการท่องเที่ยว.
กองทัพบก.(2557-2560).แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตทหาร
กองทัพบก. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:กองทัพบก.
กองทัพบก.(2557-2560).แผนแม่บทการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตทหารกองทัพบก.
พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ.(2555).การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน.ดุษฎีนิพนธ์
ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2. (2560-2564).แผนพัฒนาการท่องเที่ยว
แห่งชาติ ฉบับที่ 2.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ณัฐมน ราชรักษ์.(2555).การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ดุษฎี
นิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก.(2555).คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพกิจกรรม การ
ท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหารกองทัพบก.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: กองทัพบก
สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก(2560). ตะลุยเที่ยวเขตทหาร.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:
สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก.สำนักพิมพ์อรุณอัมรินทร์.
สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก(2561).เที่ยวทั่วไทยในเขตทหาร2017.พิมพ์ครั้งที่1.
กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก.
Cohen, A., (2006). The Relationship Between Multiple Commitment And
Organizational Citizenship Behavior In Arab and Jewish Culture: Journal Of
Vocational Behavior. 69: 105-118.
Derek Martin, P., & Pope, J. (2008). Competency-based interviewing-has it gone too
far? Industrial and commercial training. 40(2): 81-86.
Allen, T. D., & Rush, M. C. (1998). The effects of organizational citizenship behavior
on performance judgments: A field study and a laboratory experiment.
Journal of Applied Psychology, 83: 247–260.
Alizadeh, Z., Darvishi S., Nazari K., Emami M. (2012). Antecedent and Consequences
of Organizational Citizenship Behavior (OCB), Interdisciplinary Journal of
Contemporary Research Business. Vol 3, No. 9: 494-505.
Amit, R. and Schoemaker P. (1993). Strategic assets and organizational rent:
Strategic Management Journal. 14, 33-46.
Armstrong, M, (2008). How to Be an Even Better Manager: A Complete A-Z of Proven
Techniques And Essential Skills.
Avila, R. A., Fern, E. F., & Mann, O. K. (1988). Unraveling criteria for assessing the
performance of sales people: A causal analysis. Journal of Personal Selling
and Sales Management, 8: 45–54.