การสื่อสารสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มสตรีผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กาญจนา สมพื้น
รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิถีชีวิต การสื่อสารสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี และ (2) วิเคราะห์เส้นทางปัจจัยระหว่างวิถีชีวิต การสื่อสารสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรีจำนวน 394 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยเครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วัดวิถีชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี วัดการสื่อสารสุขภาพ วัดการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพ และวัดคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจำลองเชิงเส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) วิถีชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี 8 ด้าน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านกีฬา และนันทนาการมากที่สุด รองลงมาให้ความสำคัญด้านการศึกษาและการขัดเกลาทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว ด้านศิลปะ ด้านความเชื่อและศาสนา และด้านการสื่อสาร (2) การสื่อสารสุขภาพ 4 องค์ประกอบ สตรีผู้สูงอายุจันทบุรีให้ความสำคัญด้านเนื้อหาสาระสุขภาพมากที่สุด รองลงมาด้านผู้ส่งสารสุขภาพ ด้านผู้รับสารสุขภาพ และด้านช่องทางการสื่อสารสุขภาพ (3) การรู้เท่าทันสื่อสุขภาพสตรีผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการใช้ผู้แสดงแบบโฆษณาด้านสุขภาพสร้างความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด รองลงมาเลือกเปิดรับสื่อสุขภาพตามสื่อที่มีความคิดเห็นที่ตรงกับความต้องการ และ (4) คุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านความนึกคิด ด้านอารมณ์ ด้านการปรับตัวทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรู้สึกภาคภูมิใจตนเองทุกด้านไม่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต (5) ผลการวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิต่อคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 0.218, df = 2 , c2/df = .109, P-value = 0.000, GFI = .923, AGFI = -.383, CFI = .952, TLI = -1.214, RMSEA = .065, RMR = .364) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ว่า (5.1) ปัจจัยด้านวิถีชีวิต ด้านการสื่อสารสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี และ (5.2) การรู้เท่าทันสื่อสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี ตัวแปรทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรีร้อยละ 74


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพนฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูป
สุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Ratzan, S. C. (2001, June). Health literacy: Communication for the public good. Health Promotion International. 16(2): 207-214.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 30 : การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคม
สูงวัย. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/
parliament_parcy/download/parcy/057.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562.กรุงเทพมหานคร
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561.กรุงเทพมหานคร
โรจนี จินตนาวัฒน์ กนกพร สุคำวัง และศิริรัตน์ ปานอุทัย. (กรกฎาคม-กันยายน 2549). ความซุกซน และ ปัจจัยเสี่ยงของการถูกทำร้ายในผู้สูงอายุสตรีไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 21(3): หน้า 31-46.
ปานจักษ์ ทองปาน. (2540). ภาพลักษ์ของผู้สูงอายุในงานโฆษณาทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์วารสาร
ศาสตร- มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฑามณี สมบูรณ์บริสุทธิ์. (2547). หญิงชรา ความจน คนชายขอบ: ชีวิตริมฟุตบาทของหญิงชราขอทาน. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2562). ประชากรแยกรายอายุพื้นที่จังหวัดจันทบุรีข้อมูลปี 2562. สืบค้นเมื่อ
20 ตุลาคม 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/
statinternet/#/tableage.
Yamane, T. (1973). Statistics. New York: Harper and Row Publication.
งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยคุณภาพทางมานุษยวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง. (2560). แนวทางการใช้สื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพในภาคตะวันออก.
รายงานการวิจัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทหน้าที่ในการกำหนดแนว ทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Best J. W., & Kahn J. V. (1998). Research in Education 8 eds. Boston: Allyn & Bacon.
Sucheera, P., Thienchai, Ng.,& Buncha, P. (2005). The Development of the Pitorial Thai
Quality of Life. J Med Assoc Thai 2005, 88(11): 1605-1618.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537, สิงหาคม). การวิเคราะห์อิทธิพล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 1(1): 71-85.
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate data analysis. New York:
Prentice-Hall.
อรพินทร์ ชูชม พรรณีบุญประกอบ มนัส บุญประกอบ อุษา ศรีจินดารัตน์ และสุชาดา สุธรรมรักษ์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย. วารสารศรีนครินทร
วิโรฒ.วิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(23):112-124.
อริสรา สุขวัจนี. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารศรีนครินทร
วิโรฒ.วิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 4(8): 216-223.
รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา. (2561, มีนาคม-สิงหาคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อชีวิตผู้สูงอายุในเขตเมืองจันทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20(1): 35-47.
หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพสตรี.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(21): 161-173.
วัฒนี ภูวทิศ. (2560). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ รายงานข่าวสาร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).
9(11): 135-144.
นิวัฒน์ ศรีบุญนาค. (2552, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการจัดการหมู่บ้านเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนแบบพอเพียงในหมู่บ้านจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย. วารสาร
ศรีนครินทร-วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 1(1): 70-83.
อภิชญา จิ่วพัฒนกุล วรางคณา อดิศรประเสริฐ และศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2554, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและ
พัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 3(6): 178-194.
วิรงรอง สิตไทย และณิสา แจ้งบุญ. (2563, มกราคม-มิถุนายน). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ใน
ระดับชั้นคลินิก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(23): 73-85.