ตัวแบบวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

Main Article Content

อนพัทย์ พูลสวัสดิ์
อรุณ รักธรรม
เพ็ญศรี ฉิรินัง
ชาญ ธาระวาส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน กระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน และวัฒนธรรมองค์การ ขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ และกระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน ที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย และ 3) เพื่อเสนอตัวแบบวัฒนธรรมองค์การแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานองค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายชั้นโดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 196 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 15 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ระดับของวัฒนธรรมองค์การ กระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืนและความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และพบว่า วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน ผ่านกระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน จากการบูรณาการผลการศึกษาทั้งหมดที่ได้เข้าด้วยกัน ผู้วิจัยสามารถนำมาสังเคราะห์เป็นตัวแบบโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตัวแบบวัฒนธรรมองค์การแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นบริบทภายในองค์การล้อมรอบด้วยบริบทภายนอกองค์การที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยบริบทภายในที่มีผลต่อความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน มีองค์ประกอบ 3 มิติ คือ (1) วัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วย วัฒนธรรมด้านพันธกิจ วัฒนธรรมด้านการปรับตัว วัฒนธรรมด้านเอกภาพ และวัฒนธรรมด้านการมีส่วนร่วม (2) กระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน โครงสร้างการกำกับดูแล และกระบวนการการกำกับดูแล (3) ตัวชี้วัดความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2559). การรับรู้ระดับบุคคลด้านวัฒนธรรมองค์การและการจัดการ ความรู้ที่มีอิทธิพลต่อ

นวัตกรรม ของกลุ่มบริษัท KTIS [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 58-67.

กิตติ์รวี เลขะกุล (2561). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การเทศบาลในเขตภาคใต้

ของประเทศไทย. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน.

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือการสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ.

กรุงเทพมหานคร: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.

ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2556). วัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

บุรณิน รัตนสมบัติ. (2557). การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาด

ใหญ่. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ปริณ บุญฉลวย. (2556). วัฒนธรรมองค์การ องค์การการเรียนรู้ กับประสิทธิผลองค์การ ของศาลยุติธรรม: ตัว

แบบสมการ โครงสร้าง. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมและการจัดการ

สิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุคส์.

พิริยาภรณ์ อันทอง, และ ศุภกร เอกชัยไพบูลย์. (2559). Checklist เพื่อธุรกิจยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์

พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์. (2559). การวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านการเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรร

โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา).

สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์. (2559). การจัดการอย่างยั่งยืนกับประสิทธิภาพการบริหารรายการเทิดพระเกียรติของ

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์

คณะรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย).

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำพล นววงศ์เสถียร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวในตลาดหลักทรัพย์แห่ง

ประเทศไทย. (วิทยานิพนนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์,

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

Benita Steyn & Lynne Niemann. (2014). Strategic role of public relations in enterprise strategy,

governance and sustainability: A normative framework. Public Relations Review. 40, 171–

Brundtland, Harlem. (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press.

Cameron, K. S. and Quinn, R. E. (1999). Diagnosing and Changing Organizational Culture.

Reseading, M.A.: Addison-Wley.

Denison, D.R. (1990). Corporate Culture & Organizational Effectiveness. New York: Wiley.

Elkington, J. (1999). Triple bottom-line reporting: Looking for balance. Australian CPA. 69(2,

March), 18–21.

Creswell, J. W. (1998). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five traditions.

London: SAGE.

Glaser, B.G. & Strauss, A.L. (1997).The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative

Research. Chicago: Aldine Pub.

Mebratu, Desta. (1998). Sustainability and sustainable development: Historical and conceptual

review. International Institute for Industrial Environmental Economic. 18: 493 – 520.

Patton, M. (1990). Qualitative evaluation and research methods. Beverly Hills, CA: Sage.

Romana Rauter. (2017, January). Going One’s Own Way: Drivers in Developing Business Models

for Sustainability. Journal of Cleaner Production, 140(1), 144-154

Sri Handari Wahyuningsih. (2019, February) Analysis of organizational culture with Denison’s

model approach for international business competitiveness. Problems and Perspectives

in Management, 17(1), 142-151.

Truong Thi Huong Xuan. (2019, March) Organizational Culture of Enterprises in Thua Thien Hue

Province with Denison Model. Hue University Journal of Science, 128(5C), 45–54.

Vinod Kumar, Zillur Rahman, A. A. Kazmi and Praveen Goyal. (2012). Evolution of Sustainability as

Marketing Strategy: Beginning of New Era. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 37(2012),

–489.