การศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทในอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป จำนวน 400 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า c2 เท่ากับ 42.26 ค่า p-value เท่ากับ 0.002 ค่า c2/df เท่ากับ 2.224 ค่า GFI เท่ากับ 0.975 ค่า AGFI เท่ากับ 0.953 ค่า NFI เท่ากับ 0.954 ค่า CFI เท่ากับ 0.974 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.055 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทในอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 21
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
วิริยกิตต์ พุทธสัมฤทธิ์ และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2559). การวิเคราะห์การส่งผ่านราคาน้ำตาลทรายของไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 2(1), 21-52.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า. (2561). แนวโน้มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปไทยในยุคดิจิตอล. สืบค้นจาก https://media.thaigov.go.th/uploads/document/
/2018/11/pdf/Doc_20181126124849000000.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย. (2561). แปรรูปผลิตผลเกษตรอย่างไรให้เพิ่มค่าในยุค 4.0. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005083327.pdf
Bachrach, D. G., Powell, B. C., Bendoly, E., & Richey, R. G. (2006). Organizational citizenship behavior and performance evaluations: Exploring the impact of task interdependence. Journal of applied psychology, 91(1), 193.
Bolino, M. C., Turnley, W. H., & Bloodgood, J. M. (2002). Citizenship behavior and the creation of social capital in organizations. Academy of management review, 27(4), 505-522.
Cho, S., & Johanson, M. M. (2008). Organizational citizenship behavior and employee performance: A moderating effect of work status in restaurant employees. Journal of Hospitality & Tourism Research, 32(3), 307-326.
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). London: Pearson Education Limited.
Mallick, E., Pradhan, R. K., Tewari, H. R., & Jena, L. K. (2014). Organizational citizenship behaviour, job performance and HR practices: A relational perspective. Management and Labour Studies, 39(4), 449-460.
Mathis, R. L., & Jackson, J. H. (2011). Human resource management: Essential perspective. Ohio: South Western.
Meyer, J. P., Becker, T. E., & Vandenberghe, C. (2004). Employee commitment and motivation: A conceptual analysis and integrative model. Journal of Applied Psychology, 89(6), 991-1007.
Organ, D. W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Massachusetts: D.C. Health and Company.
Podsakoff, P. M., MacKenzie, S. B., Paine, J. B., & Bachrach, D. G. (2000). Organizational citizenship behaviors: A critical review of the theoretical and empirical literature and suggestions for future research. Journal of management, 26(3), 513-563.
Pradhan, R. K., & Jena, L. K. (2017). Employee performance at workplace: Conceptual model and empirical validation. Business Perspectives and Research, 5(1), 69-85.
Thiruvenkadam, T., & Durairaj, I. Y. A. (2017). Organizational citizenship behavior: Its definitions and dimensions. GE-International Journal of Management Research, 5(5), 46-55.