การเฝ้าระวังและติดตามกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ที่เข้าข่ายละเมิดพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็กในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด รวมไปถึงวิเคราะห์กลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงที่เข้าข่ายละเมิดพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการติดตามกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงผ่านเครือข่ายเฝ้าระวังในสื่อสังคมออนไลน์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบความผิดโดยเทียบกับแต่ละมาตราที่ตั้งข้อสังเกตเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย ผลการวิจัยจากการติดตามกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ในภาพรวมพบการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด แต่เป็นการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดที่ได้รับการออกแบบเนื้อหามาจากส่วนกลาง และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาในพื้นที่ มากกว่าที่จะเป็นการออกแบบและจัดกิจกรรมโฆษณาและส่งเสริมการตลาดในพื้นที่ของสามจังหวัดดังกล่าว สำหรับกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็กที่พบ ได้แก่ (1) การโฆษณาแบบย้ำความสนใจจากร้านค้าออนไลน์ (2) การโฆษณาผ่าน Facebook (3) การโฆษณาผ่าน Search Engine (4) การโฆษณาแบบพร้อมซื้อ (5) ป้ายโฆษณาใน Application (6) การแถมนมผงด้วยการเพิ่มปริมาณในราคาขายเดิม และ(7) การลดราคาสิ่งควบ เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบความผิดโดยเทียบกับแต่ละมาตรา พบว่า กลยุทธ์ดังกล่าวเข้าข่ายละเมิดมาตรา 14 ที่ห้ามผู้ใดโฆษณาอาหารสำหรับทารก และมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ห้ามแจกหรือให้คูปองหรือสิทธิที่จะได้รับส่วนลด ขายพ่วง แลกเปลี่ยนหรือให้ของรางวัลของขวัญหรือสิ่งอื่นใดทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหา (รูปภาพ ข้อความ) ที่พบว่าใช้ในการโฆษณาเป็นนมผงสำหรับทารก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
นงนุช ใจชื่น และกัณณพนต์ ภัคดีเศรษฐกุล. (2558). การเปิดรับการสื่อสารการตลาดนมผงกับการเลี้ยงลูกด้วยนมผงของหญิงไทย. นนทบุรี : สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
บวรสรรค์ เจี่ยดำรง. (2558). การเฝ้าระวังและติดตามกลยุทธ์การสื่อสารในการส่งเสริมการตลาดนมผงในประเทศไทยที่ละเมิดหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
ระหว่างการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Belch, G. E. & Belch, M. A. (2018). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective 11ed. McGraw-Hill Education.
Jack Newman & Teresa Pitman.(2014). Dr. Jack Newman’s Guide to Breastfeeding. London.