ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

อริสา สำรอง
รังสิมา หอมเศรษฐี
พีสสลัลฌ์ ธำรงรงศ์วรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี 2) ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีต่อโครงสร้างและเนื้อหารายวิชาทางจิตวิทยาของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 256 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความความสนใจและจะสมัครเรียนต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางจิตวิทยามากที่สุด รองลงมาเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และเป็นสาขาที่น่าสนใจ ผู้ตอบแบบสอบถาม    ส่วนใหญ่สนใจศึกษาต่อในแผนการศึกษาประเภทแผน ข. และวิชาเอกที่ผู้ตอบแบบสอบถามสนใจศึกษาต่อ    มากที่สุดคือวิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา รองลงมาคือวิชาเอกจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่าโครงสร้างหลักสูตรจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 43 หน่วยกิต มีความเหมาะสมพอดี 3) ผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใจศึกษาในวิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษามีความสนใจในเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาการเยียวยาและฟื้นฟูมากสุด รองลงมาคือการปรึกษาครอบครัว ส่วนวิชาเอกจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมีความสนใจในเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมในองค์การ รองลงมาคือการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ราชกิจจานุเบกษา: เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา. ค้นวันที่ 20
สิงหาคม 2563 จากhttp://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/ criterion%20_m58.PDF
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนธัชการพิมพ์.
ประพนธ์ ลิ้มธรรมมหิศร. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาหลักสูตรรัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขานโยบายสาธารณะ: ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประพิมพา จรัลรัตนกุล. (2562 ). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. ค้นหาวันที่ 9 กันยายน 2563 จาก https://smarterlifebypsychology.com/2017/10/18/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD/
โรงพยาบาลศรีธัญญา. (2559). แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชสู่สุขภาวะ:การจ้างงาน
สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพรอสเพอรัสพลัส.
ลภัสรินทร์ รัตนบุรี. (2558). ศึกษาความต้องการการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของนักศึกษาปริญญาตรี
ในสถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์นครศรีธรรมราช. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). แรงจูงใจและความคาดหวังในการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริการ การศึกษา ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), 181-192.
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ. (2558). การปรับพฤติกรรมและทัศนคติการทำงานเพื่อความอยู่รอดของคนวัย ทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยภายใต้เงื่อนมาตรฐานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(3) )(กันยายน-ธันวาคม), 1-10.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Knowles, M. S. (1980). The Modern Practice or Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. NewYork: Cambridge, Follett Pub.Co.