การสื่อสารความเชื่อผ่านการแสดงเพลงโคราชในบริบทพิธีกรรมการแก้บน

Main Article Content

นีรนุช กมลยะบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการแสดงเพลงโคราชในบริบทพิธีกรรมการแก้บน ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของการแสดงเพลงโคราชในบริบทพิธีกรรมการแก้บน  และการให้ความหมายของคุณค่าการแสดงเพลงโคราชในบริบทพิธีกรรมการแก้บน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายและการสังเกตการณ์แบบไม่มีมีส่วนร่วม จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน 2.กลุ่มหมอเพลงโคราช จำนวน 9 คน และ 3.กลุ่มผู้มาแก้บน จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 27 คน 


โดยบทบาทหน้าที่ของการแสดงเพลงโคราชตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 1. หน้าที่ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตและยังคงทำหน้าที่นั้นในปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ในระดับปัจเจก ได้แก่ ช่วยให้หมอเพลงมีสมาธิ ปฏิภาณไหวพริบ รวมถึงช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายของหมอเพลงให้แข็งแรง ระดับชุมชน ได้แก่ การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ การสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีความโดดเด่นและแตกต่าง ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน และระดับสังคม เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ 2. หน้าที่ที่คลี่คลายที่มีตั้งแต่ในอดีต ซึ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่แต่ไม่เหมือนเดิมทั้งหมด โดยวิเคราะห์ในระดับปัจเจก คือ ให้สุนทรียะและความบันเทิงแก่ผู้ฟัง ระดับชุมชน คือ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน และระดับสังคม คือ การขัดเกลาทางสังคมให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีร่วมกัน 3. หน้าที่ที่หายไปที่มีเฉพาะในอดีต ซึ่งในปัจจุบันไม่มีแล้ว โดยวิเคราะห์ในระดับปัจเจก คือ การเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมโดยหมอเพลงโคราช ระดับชุมชน คือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่คนในชุมชน และระดับสังคม คือ การปลูกฝังค่านิยมที่ดีทางสังคม และ 4. หน้าที่ที่เพิ่มใหม่ซึ่งยังไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต มีเฉพาะในปัจจุบัน ระดับปัจเจก คือ เป็นที่พึ่งทางจิตใจในยามวิกฤต ระดับชุมชน คือ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา และระดับสังคม คือ การขยายเครือข่ายกับสถาบันการศึกษา และยกระดับการเป็นศิลปินแห่งชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย