การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) ด้วยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในปัญหาไฟป่าและหมอกควัน.

Main Article Content

จิราพร ขุนศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกในการเป็นสื่อเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ด้วยกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชาวชุมชนบ้านดอยปู่ไข่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูล การเลือกตัวแทนในการให้ข้อมูล การออกแบบเนื้อหาสื่อ และการเผยแพร่สื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม


          ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมใน 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นตอนก่อนการผลิต ได้แก่ การวางแผนจัดทำโครงการผลิตสื่อ การกำหนดประเด็นการสื่อสาร การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร และการกำหนดเนื้อหาสื่อ  2) ขั้นตอนระหว่างการผลิต ได้แก่ การพัฒนาเนื้อหา รูปภาพ ข้อความ การสื่ออารมณ์ และการใช้โทนสี  และ 3) ขั้นตอนหลังการผลิต ได้แก่ ประเมินผลและการเผยแพร่สื่อ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การวิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดเชียงราย.(2562).เอกสารประกอบการประชุมของจังหวัดเรื่องการวิเคราะห์
ศักยภาพของจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2562.
กาญจนา แก้วเทพ, กิตติ กันภัย, ปาริชาต สถาปิตานนท์.(2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่ .กรุงเทพฯ :
เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กรรณิการ์ เพ็งปรางค์ และกาญจนา แก้วเทพ.(2548).การมีส่วนร่วมในการสื่อสาร:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
จริง.วารสารนิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 23 (3-4), 62-81.
กรวรรณ เวชชานุเคราะห์ และนิธิดา แสงสิงแก้ว.(2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนกรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
กุลธิดา ศรีสุวรรณ และ รรินทร วสุนันต์. (2558). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชน อำเภอกะปง จังหวัดพังงา.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 11 (3), 25-32.
จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต.(2555).การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อความสมดุลและยั่งยืน .(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต).
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. คณะภาษาและการสื่อสาร.
ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่
ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย.กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทิพย์สุดา ปานเกษม และพรพรรณ ประจักรเนตร.(2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดน่าน.การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (1 ก.ค. 2559).
นิษฐา หรุ่นเกษมและปรียา สมพฤกษ์ (2561).การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเพื่อสนับสนุนการ
ท่องเที่ยวชุมชน.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13 (1),173-191.
วิภาวี กฤษณะภูติ, กิตติศักดิ์ ปลาทอง.(2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการชุมชนในภาวะมหา
อุทกภัยปี 2554: เรียนรู้ความสำเร็จจากชุมชนเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,30 (2),65-88.

ออนไลน์
มติชน. (2562).ข่าวไฟไหม้ป่าดอยปู่ไข่ สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/region/news_1440823 เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2562.