แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประสิทธิผลของสำนักนโยบายและแผนกลาโหม ในประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา สำนักงานอาเซียน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

Main Article Content

ฮาลีซาล เจะเลาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ใหมประสิทธิผลของสำนักงานอาเซียน สำนักนโยบายและแผนกลาโหมในประชาคมอาเซียน เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาและ ข้อเสนอแนะของการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิผลของสำนักงานอาเซียน สำนักนโยบายและ แผนกลาโหมในประชาคมอาเซียน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ ของสำนักงานอาเซียน สำนักนโยบายและแผนกลาโหมในประชาคมอาเซียนวิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 : ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้คือตัวผู้วิจัย (Researcher as a key instrument) ทั้งนี้ Kvale (1996) และชาย โพธิสิตา (2549) กล่าวว่าเครื่องมือในการ สัมภาษณ์ที่ดีคือ ตัวผู้สัมภาษณ์เนื่องจากเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ใดสถานการณ์หนึ่ง ได้แก่ ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร คือ กลุ่มผู้บังคับบัญชา จำนวน 10 คน และ กลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 20 คน หน่วยงานสำนักงานอาเซียน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม และ ระยะที่ 3 การประมวลผลข้อมูล และเขียนรายงานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิผลของสำนักงานอาเซียน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ในประชาคมอาเซียน พบว่า ในด้านการวางแผนงานกำลังพล ของสำนักงานอาเซียนยังไม่ค่อยรู้กลไกของอาเซียนอย่างลึกซึ้งเท่าไรนัก ในด้านการปฏิบัติงาน การสร้างเครือข่ายการประสานงาน จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างความคุ้นเคย ความไว้เนื้อเชื่อใจ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย