ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สำหรับครูอนุบาล เพื่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กอนุบาล
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์, ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์, ครูอนุบาลบทคัดย่อ
เด็กในระดับปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบซักถาม สืบเสาะหาข้อมูลความรู้ และเรียนรู้โลกของธรรมชาติรอบตัว นับเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว การส่งเสริมให้เด็กอนุบาลมีความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สามารถช่วยสร้างพื้นฐานที่ดีให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้เรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ได้ โดยการพัฒนาครูอนุบาลให้เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้กรอบคิดสมรรถนะ/องค์ประกอบ 8 ประการของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่เลเดอร์แมนได้ระบุและให้คำอธิบายไว้อย่างกระชับและชัดเจน ความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูอนุบาลจะทำหน้าที่เป็นหลักในการกำกับทิศทางการใช้คำถามของครู ให้นำทางการคิดของเด็กสู่การเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏหรือแฝงอยู่ในโลกของธรรมชาติและในสถานการณ์และเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
References
ภาษาไทย
ภัสรำไพ จ้อยเจริญ. (2566). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์ทาง
วิทยาศาสตร์ของครูอนุบาล โดยใช้วัฏจักรการสืบสอบและการสร้างความรู้ของครูผสานแนวคิดการ
สะท้อนคิดอย่างชัดแจ้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติพ.ศ. 2561
ในรูปแบบของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์. นนทบุรี : บริษัท ๒๑ เซ็นจูรี่จำกัด.
ภาษาอังกฤษ
Anders,Y., Hardy, L., Pauen, S., Ramseger, J., Sodian, B., &Steffensky, M. (2018). Early science
education - Goals and process-related quality criteria for science teaching. Barbara
Budrich.
Lederman,N.G. (2007). Nature of science : Past, present, and future. In S.K., Abell & N.G.,
Lederman (Eds.), Handbook of Research on Science Education (pp.831-879). Taylor
& Francis Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์