สภาพและปัญหาของผู้ปกครองในการสนับสนุนการเชื่อมโยงเด็กกับธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • อังศิกา ศิริโอภาสกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้ปกครอง, เด็กวัยอนุบาล, ธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของผู้ปกครองในการสนับสนุน
การเชื่อมโยงเด็กกับธรรมชาติ ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเปิดโอกาสให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติ ด้านการจัดสื่อและพื้นที่ธรรมชาติในบ้าน และด้านการสนับสนุนการเล่นในธรรมชาติ ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนมิตรจิตวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ปีการศึกษา 2565 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการสนับสนุนการเชื่อมโยงเด็กกับธรรมชาติของผู้ปกครองโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในระดับปานกลาง (𝑥̅= 3.18)
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนการเล่นในธรรมชาติ (𝑥̅= 3.75) รองลงมาคือ ด้านการเปิดโอกาสให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติ (𝑥̅= 3.24) และด้านการจัดสื่อและพื้นที่ธรรมชาติในบ้าน (𝑥̅ = 2.56) ตามลำดับ

ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ด้านการจัดสื่อและพื้นที่ธรรมชาติภายในบ้าน เนื่องจากบริเวณบ้านไม่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ รองลงมาคือ ด้านการเปิดโอกาสให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติ เนื่องจากผู้ปกครองทำงานเลิกเย็นทำให้ไม่มีเวลา และด้านการสนับสนุนการเล่นในธรรมชาติพบว่า ผู้ปกครองมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็ก

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย. (2564, 7 ตุลาคม). อ่านโจทย์เมืองใหม่ เมื่อคนไทยต้องอยู่บนตึกสูง (มากขึ้น).

ดิวันโอวัน. https://www.the101.world/panthira-julayanont-interview/

กฤษชญา ศุภปัญญาโชติ. (2564). ความคิดเห็นของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นกลางแจ้งแก่เด็กวัย

อนุบาล โรงเรียนไทยคริสเตียนสะพานเหลือง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2).

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/248462

ชุติกาญจน์ มานะญาณกิจ, ทัพพานันต์ ตันสกุล และ เพลงไพร รัตนาจารย์. (2558). พฤติกรรมการจัด

การเล่นในธรรมชาติให้กับลูกวัยอนุบาลของพ่อแม่ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56168

ณัฏฐ์ชุดา ปพัฒน์วรภิญญ. (2564). การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการตนเองของเด็กปฐมวัย โดยการจัด

ประสบการณ์การเรียนรู้ธรรมชาติเป็นฐาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2).

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/248923

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ. (2563, 2 กันยายน). เติบโตอย่างมารีญา เผชิญปัญหาอย่างครูจุ๊ย: เลี้ยงลูกแบบ

สแกนดิเนเวีย. mappa. https://mappalearning.co/scandinavia-parenting/

ไทยโพสต์. (2564, 8 พฤษภาคม). โรคขาดธรรมชาติในเด็ก โจทย์ปัญหามาคู่ยุคดิจิทัล.

https://www.thaipost.net/main/detail/102122

นิตยสารสาระวิทย์. (2566, 25 เมษายน). แม่จ๋า…พ่อจ๋า…อย่ายื่นจอให้หนู. นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.

https://www.nstda.or.th/sci2pub/child-cell-phone-addiction/

แพร นากชื่น. (2564). บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในกรุงเทพมหานคร. วารสาร

อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76678

มนัท สูงประสิทธิ์. (2560, 4 กันยายน). อิทธิพลครอบครัว ที่ส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง.

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/อิทธิพลครอบครัว-ที่ส่งผล/

แมคเกิร์ค, แอล เอ. (2563). There’s no such Thing as bad weather [เลี้ยงลูกสไตส์แกนดิเนเวีย เติบโต

ได้ในทุกอากาศ มีธรรมชาติเป็นเพื่อนเล่น]. แซนด์คล็อคบุ๊คส์.

ยามาโมโตะ, ที. (2564). โรคขาดธรรมชาติ. มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

โรงพยาบาลเปาโล. (2562, 22 มีนาคม). พ่อแม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกในตึก (คอนโด) มีอะไรที่ต้องกังวล.

https://shorturl.asia/GkBlD

ลุฟว์, อาร์. (2563). Last child in the woods: Saving our children from nature deficit disorder

[เด็กคนสุดท้ายในป่า: เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างจากโรคขาดธรรมชาติ]. สวนเงินมีมา.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรพจน์ รัตนวาร. (2561). ทฤษฏีการเรียนรู้ [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2564). การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7

ประจำปี 2564 “Children & Nature-deficit Disorder เด็กกับโรคขาดธรรมชาติ. Mahidol

University. https://mahidol.ac.th/th/2021/children-nature-deficit-disorder/

สมชาย เดชากรณ์. (2564, 27 ธันวาคม). 'รถติด' ปัญหาคู่วิถีชีวิตคน กทม. เมื่อผังเมืองกรุงเทพฯ ไม่ตอบโจทย์

การพัฒนา. สำนักข่าวอิศรา. https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/105339-

isranews-228.html

สาวิตรี ทยานศิลป์. (2564, 24 มิถุนายน). เด็กกับโรคขาดธรรมชาติ พัฒนาเด็กไทยก้าวทันโลก [Video].

Youtube. https://youtu.be/K8QCzuPhuj0

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561, 18 พฤษภาคม). แพทย์แนะ 6 วิธีเลี้ยงลูกครอบครัว

“คอนโดฯ”. https://www.thaihealth.or.th/แพทย์แนะ-6-วิธีเลี้ยงลูก/

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2564, 23 เมษายน). ผลร้ายของสภาวะ ‘ขาดธรรมชาติ’.

https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/

อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. (2564, 17 มีนาคม). โรคขาดธรรมชาติในเด็ก!! [Video]. Youtube.

https://www.youtube.com/watch?v=Hz5TQazTWA8

ภาษาอังกฤษ

Battles, M. (2020, July 23). 11 Signs you’re an overprotective parent (and what to do

about It). LifeHack. https://www.lifehack.org/880736/overprotective-parents

Bedford, D. (2019, January 29). Why you shouldn’t plant trees too close to your home.

https://redstreeservice.com/why-you-shouldnt-plant-trees-too-close-to-your-home/

Chiarella, M. (2020). 11 Tips for parents to connect kids to the outdoors. Project Learning

Tree. https://www.plt.org/educator-tips/11-tips-for-parents-to-connect-kids-to-the-

outdoors

Finch, K. (2016). A parent’s guide to nature play. Natural start alliance.

https://naturalstart.org/feature-stories/parent%E2%80%99s-guide-nature-play

Gordon, S. (2021, May 29). How technology gets in the way of parenting. Verywellfamily.

https://www.verywellfamily.com/technology-vs-parenting-4690680

Kourti, A., Stavridou, A., Panagouli, E., Psaltopoulou, T., Tsolia, M., Sergentanis, T. & Tsitsika, A.

(2021). Play behaviors in children during the COVID-19 pandemic: A review of the

literature. PMC Journal. 8(8).

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8393419/

Lanza, K., Alcazar, M., Chen, B.,Kohl, W. H., (2023). Connection to nature is associated with

social-emotional learning of children, Current research in Ecological and Social

Psychology. 4. https://doi.org/10.1016/j.cresp.2022.100083

Mcdermott, M. (2015, 15 December). 6 Ways to help kids connect with nature because, “If

children lose contact with nature, they won’t fight for It”. Moms clean air force.

https://www.momscleanairforce.org/6-ways-help-kids-connect-nature/

Mousena, E., & Sidiropoul, T. (2016, May 17-20). Nature deficit disorder – parental attitudes.

In J. Kouros,T. Sidiropoulou & P. Moutevelis (Chair), 21st International conference of

the association of psychology and psychiatry for adults and children [Symposium]. Athens, Greece.

Moon, H. (2022, April). Parental factors that affect the connectedness to nature of

pre-school aged children in Halifax. Nova Scotia. http://hdl.handle.net/10222/81613

Wallin, A. (2017, February 16). Nature play is important for the cognitive development of

early learners. Imformal science. https://www.informalscience.org/news-views/nature-

play-important-cognitive-development-early-learners

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-25