การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ในจังหวัดสกลนคร ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions: EF) สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ปัณฑิตา อินทรักษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

สมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย, ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, สมองเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions : EF) สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนในระดับปฐมวัย สังกัดสนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร 2) รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 3) แบบวัดสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการศึกษาระดับสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.53) แบ่งเป็นรายด้าน ด้านพฤติกรรมหรือวินัยเชิงบวก อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.55)
    ด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.50) ด้านทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57,
    S.D. = 0.53) และด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.55)
  2. ผลการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย องค์ประกอบของรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดทฤษฎี
    3) หลักการของรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ 4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 6) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและการประเมินผล และ 9) การสะท้อนผล
  3. ผลการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร หลังจากได้รับการพัฒนาตามรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 37 คน มีระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยเฉลี่ยเท่ากับ78.58 อยู่ในระดับสมรรถนะสูงมากคะแนนพัฒนาการสูงที่สุดเท่ากับ 92.86% อยู่ในระดับสมรรถนะสูงมาก และคะแนนพัฒนาการต่ำที่สุด เท่ากับ 55.56 % อยู่ในระดับสมรรถนะสูง

4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก = 4.26,
S.D. = 0.96)

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

กฤษณา สมะวรรธนะ. (2547). เอกสารประกอบการสอนปฐมวัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูปฐมวัยใน ศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(2); พฤษภาคม-สิงหาคม 2560.

คำพันธ์ แก้วสุวรรณ. (2556). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาลปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัชวาลย์ เจริญบุญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

พิสณุ ฟองศรี. (2553). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพ ฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

มานิตย์ นาคเมือง. (2552). รูปแบบกการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวี ศิริปริชยากร. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะครูปฐมวัยมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ตามหลัก สมรรถนะครู ผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project - based Learning). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การพัฒนาการเรียนการสอน. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Function) สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูู. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยทุธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

อรสา สาคร. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราภัฏนครสวรรค์.

อนุศรา อุดทะ และจิติมา วรรณศรี. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4), ตุลาคม - ธันวาคม 2563.

ภาษาอังกฤษ

Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and school learning. New York, NY: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-25