กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำกลยุทธ์ของแผนปฏิบัติการคณะครุศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
กระบวนการมีส่วนร่วม, กลยุทธ์, แผนปฏิบัติการ, อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธ์ของแผนปฏิบัติการคณะครุศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งตามอัตอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้วยการวิจัยนี้เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และวิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อมูลในการกำหนด จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 13 คน ได้แก่ บุคลการสายวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระยะที่ 2 วิพากษ์ข้อมูลและกลยุทธ์แผนปฏิบัติการคณะครุศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งตามอัตอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้บริหารคณะ ประธานหลักสูตร ตัวแทนคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน
ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ของแผนปฏิบัติการคณะครุศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ขยายโอกาสเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน โดยปรับวิธีคิด กระบวนทัศน์ ของบุคลากร เพื่อมองหาโอกาสจากสิ่งที่ท้าทาย แสดงความเป็นตัวตนให้เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะชน กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของคุณภาพการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับความร่วมมือกับพันธมิตรทุกมิติทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยการจัดการตามแนวทางสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มความเชื่อมั่นทางวิชาการ โดยส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัย และการอ้างอิงจากบทความวิจัย และกลยุทธ์ที่ 5 ผลักดันจุดเน้นอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยสู่สาธารณชน โครงการสร้างความร่วมมือด้านวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ
References
ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. (2017). การ ศึกษา ผล การ ประเมิน หลักสูตร รายวิชา สห กิจ ศึกษา สาขา วิชา เทคโนโลยี และ สื่อสาร การ ศึกษา คณะ ศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 23(2), 19-32.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรเข้า รับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี พ.ศ.2564. สืบคืน 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565, ที่มา https://obec66.thaijobjob.com/
Gallardo Echenique, E., Marqués Molías, L. & Bullen, M. (2015). Students in higher education: Social and academic uses of digital technology. Int J Educ Technol High Educ 12, 25–37 https://doi.org/10.7238/rusc.v12i1.2078
Han, S. J., & Stieha, V. (2020). Growth Mindset for Human Resource Development: A Scoping Review of the Literature with Recommended Interventions. Human Resource Development Review, 19(3), 309–331. https://doi.org/10.1177/1534484320939739
Jackson, D., Collings, D. (2018). The influence of Work-Integrated Learning and paid work during studies on graduate employment and underemployment. High Educ 76, 403–425. https://doi.org/10.1007/s10734-017-0216-z
Lehmann, T., Blumschein, P. & Seel, N.M. (2022). Accept it or forget it: mandatory digital learning and technology acceptance in higher education. J. Comput. Educ. https://doi.org/10.1007/s40692-022-00244-w
Vernon MM, Balas EA, Momani S (2018) Are university rankings useful to improve research? A systematic review. PLoS ONE 13(3): e0193762. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0193762
William Yat Wai Lo. (2011). Soft power, university rankings and knowledge production:
distinctions between hegemony and self‐determination in higher education, Comparative Education, 47:2, 209-222, DOI: 10.1080/03050068.2011.554092
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์