บทบาทของผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • นภัสศรัณ วารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรวรรณ เหมชะญาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้ปกครอง, การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ, เด็กวัยอนุบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลในการส่งเสริม การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ใน3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนการเรียนรู้เชิงบวก การสร้างปฏิสัมพันธ์ และการจัดสภาพแวดล้อม ประชากร คือ ผู้ปกครองคนไทยที่มีบุตรกำลังเรียนระดับชั้นอนุบาลในโครงการ Intensive English programs โรงเรียนอนุบาลเอกชน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมมีบทบาทของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง (M =3.42, S.D. =1.18) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้เชิงบวกมีบทบาทอยู่ในระดับมาก (M = 3.98, S.D. =0.91) ประกอบด้วยด้านย่อยคือ การให้การเสริมแรง (M = 4.21, S.D. =0.89) และการเป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวัน (M =3.82, S.D. =0.93) ส่วนอีกสองด้านมีบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง (M =2.80 ≤ M ≤ 3.48) คือ (1) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม (M =3.48, S.D. =1.22 ประกอบด้วยด้านย่อย คือ การจัดบรรยากาศที่ปลอดภัยต่อการใช้ภาษาอังกฤษ (M =3.84, S.D. =1.15) และการจัดสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการใช้ภาษาอังกฤษ (M =3.05, S.D. =1.33) และ (2) ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ (M =2.80, S.D. =1.41) ประกอบด้วยด้านย่อยคือ การทำกิจกรรมภาษาอังกฤษร่วมกับสมาชิกในครอบครัว (M =3.11, S.D. =1.18) และการสร้างโอกาสในการเรียนภาษาอังกฤษร่วมกับผู้อื่น (M =2.07, S.D. =1.35)

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การศึกษาสำหรับผู้ปกครองปฐมวัย [เอกสารประกอบการสอน]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. ฉบับที่ 2.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

มยุรา วิริยเวช. (2559). บทบาทของผู้ปกครองคนไทยในการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย: กรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91370

วราภรณ์ รักวิจัย. (2540). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพ ฯ : แสงศิลป์การพิมพ์.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤตติกรรมศาสตร์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, (2561). รายงานประจำปี พ.ศ. 2561. http://library.nhrc. or.th/ULIB/dublin.php?ID=10711

Brummelman, E., Grapsas., S. & van der Kooij, K. (2022). Parental praise and children’s exploration: A virtual reality experiment. Scientific Reports, 12(4967) https://doi.org/10.1038/s41598-022-08226-9

Cole, J. (2011). A research review: The importance of families and the home environment. Retrieved from http://www.literacytrust.org.uk/assets/0000/7901/ Research_reviewimportance_of_families_and_home.pdf

Goodman, K. (1986). What’s whole in whole language?. Heinemann.

Kalayci, G. & Öz, H. (2018). Parental involvement in English language education. Understanding parents' perceptions. International Online Journal of Education and Teaching, 5(4), 832-847.

Kapengut, D. & Noble, K. (2020). Parental Language and Learning Directed to the Young Child. Future of Children, v30 n2 p71-92 Fall 2020. Journal Articles; Reports – Evaluative.

Lee,Y. (2010). Parents’ Perceived Roles and Home Practices in Supporting Taiwanese Children’s English Language and Literacy Learning. English Teaching & Learning, 34(1), 1-53.

Wati, S. (2016). Parental Involvement and English Language Teaching to Young Learners. Parents’ Experience in Aceh. Prosiding Ictte Fkip Uns2015. 1(1), 523-533.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10