การจัดสภาพแวดล้อมทางสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาที่พรั่งพร้อมในห้องเรียนอนุบาล
คำสำคัญ:
การจัดสภาพแวดล้อม, สื่อสิ่งพิมพ์, ห้องเรียนอนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดสภาพแวดล้อมทางสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาที่พรั่งพร้อมในห้องเรียนอนุบาล โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ ใน 2 ด้าน ได้แก่ การจัดพื้นที่และครุภัณฑ์ และ การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูอนุบาลที่กำลังสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูอนุบาลโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
(M=3.82, S.D.=0.84) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทั้งสองด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (3.74 ≤ M ≤ 3.90) คือ (1) ด้านการจัดพื้นที่และครุภัณฑ์ (M=3.90, S.D.=0.86) ประกอบด้วยด้านย่อย ได้แก่ การจัดพื้นที่ (M=4.03, S.D.=0.67) การจัดครุภัณฑ์ (M =3.76, S.D. =0.98) และ (2) ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ทางกายภาพ (M=3.74, S.D.=0.81) ประกอบด้วยด้านย่อย ได้แก่ การจัดสื่อสิ่งพิมพ์ (M=3.82, S.D.=0.76) การจัดวัสดุอุปกรณ์ (M=3.65, S.D.=0.86) ตามลำดับ
References
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๗๐. พริกหวานกราฟฟิค.
วรวรรณ เหมชะญาติ. (2565). Literacy learning การรู้หนังสือ/การอ่านออก-เขียนได้. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี เกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤตติกรรมศาสตร์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรนาท รักสกุลไทย. (2558). สุดยอดเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). พาวเวอร์ พริ้นท์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การส่งเสริมศักยภาพทางภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลแบบออนไลน์และการขยายผลการสํารวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัยสำหรับประเทศไทย (Thailand school readiness survey: phase 4). ม.ป.ท. https://research.eef.or.th/wp-content/uploads/2022/07/Report-SRS4_compressed.pdf
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. (2565). สรุปผลการขับเคลื่อนงานพัฒนาการเด็กปฐมวัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ม.ป.ท. http://doc.anamai.moph.go.th/files/opdc_files/61920e11c97a0.%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%88.2564.pdf
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2569). วันไฟน์เดย์ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. เอส.บี.เค.การพิมพ์ จำกัด
Cecil, N.L., Baker, S., & Lozano, A.S. (2015). Striking a balance: A comprehensive approach to early literacy. (5th ed.). Taylor & Francis.
Gibney, T.C. (2019). Teaching essential literacy skills in the early years classroom. Routledge
Hofslundsengen, H., Magnusson, M., Svensson, A., Jusslin, S., Mellgren, E., Hagtvet, B., & Heilä-Ylikallio, R. (2020). The literacy environment of preschool classrooms in three Nordic countries: challenges in a multilingual and digital society. Early Child Development and Care, 190(3), 414-427. https://doi.org/10.1080/03004430.2018.1477773
Machado, J. M. (2012). Early childhood experiences in language arts: Early literacy. edition. (10th ed.). Cengage Learning.
Vukelich, c., & Christie, J. (2014). Building a foundation for preschool literacy: Effective instruction for children's reading and writing development (preschool literary collection) (2nd digital ed.). International reading association.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์