ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล
คำสำคัญ:
ความปลอดภัยในโรงเรียน, เด็กวัยอนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับในการส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล ได้แก่ ด้านการจัดการความปลอดภัย ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และด้านการปลูกฝังให้เกิดความปลอดภัย ประชากรคือ ครูอนุบาลที่ปฏิบัติงานสอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (M =4.68, S.D. =0.41) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (M =4.60 ≤ M ≤ 4.80) คือ (1) ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย (M =4.80, S.D. =0.49) ประกอบด้วยด้านย่อย ได้แก่ การจัดการพื้นที่โรงเรียน (M =4.75, S.D. =0.46) การดูแลและซ่อมแซมเครื่องใช้และอุปกรณ์ (M =4.84, S.D. =0.67) (2) ด้านการปลูกฝังให้เกิดความปลอดภัย (M =4.63, S.D. =0.48) ประกอบด้วยด้านย่อย ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยแก่เด็กและผู้ปกครอง (M =4.69, S.D. =0.44) การพัฒนาตนเองของครู (M =4.56, S.D. =0.56) และ (3) ด้านการจัดการความปลอดภัย (M =4.60, S.D. =0.47) ประกอบด้วยด้านย่อย ได้แก่ การกำหนดแนวปฏิบัติของโรงเรียน (M =4.54 S.D. =0.62) การจัดบริการ (M =4.61, S.D. = 0.53) ตามลำดับ
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564. https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/ article/article_20220607102313.pdf
กรุงเทพธุรกิจ. (2565, 31 สิงหาคม). ย้อนสถิติ 7 ปีเกิดกรณี "ลืมเด็กในรถ" 129 ครั้ง ก่อนซ้ำรอยเหตุสลดรายล่าสุด. กรุงเทพธุรกิจ, https://www.bangkokbiznews.com/social/1024106
กรมควบคุมโรค. (2559). แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บโดยสถานบริการสาธารณสุข. อิโมชั่น อาร์ต.
จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2561). โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปมิกา ไทยชัยภูมิ. (2562). การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทรัฐ ไผ่เจริญ. (2565, ตุลาคม 6). อดีตตำรวจยิง-แทงเด็กเล็กและครู ตายอย่างน้อย 38 ราย. Benar News, https://www.benarnews.org/thai/news/th-daycare-mass-killing-100620221 22 921.html
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.nst1.go.th/home/wp-content/uploads/file/Safety % 20School%20Guide%2065.pdf
สยามรัฐออนไลน์. (2565, 30 พฤศจิกายน). สลด! "พ่อ-แม่" ใจสลายลูกวัย 4 ขวบ ล้มศีรษะฟาดโต๊ะเสียชีวิต รร.เอกชน ดังอ้างอุบัติเหตุ. สยามรัฐออนไลน์, https://siamrath.co.th/n/403767
องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2561). คู่มือการปกป้องดูแลเด็ก สําหรับภาคธุรกิจ. องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.
American Academy of Pediatrics. (2019). Caring for Our Children: National Health and Safety Performance Standards; Guidelines for Early Care and Education Programs (4th edition). American Academy of Pediatrics. doi: https://doi.org/10.1542/9781610022989
Centers for disease Control and Prevention. (2020). 10 Leading Causes of Death, United States Both Sexes, All Ages, All Races. National Center for Health Statistics (NCHS), National Vital Statistics System. https://wisqars.cdc.gov/data/lcd/home
Garvis & Pendergast (2020).
Marotz, L. R. (2020). Health, Safety, and Nutrition for the Young Child (Tenth Edition). Cengage Learning.
Robertson, C. (2016). Safety, Nutrition, and Health in Early Education (Fifth Edition). Cengage Learning.
Wang, X. (2017) Research on Preschool Teachers’ Safety Education in China. International Journal of Humanities Social Sciences and Education, 4(1), 32-35. doi: 10.20431/2349-0381.0401004
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์