คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่บริบทไทย

ผู้แต่ง

  • จิราพร รอดพ่วง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • กัลยา ชนะภัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, เด็กปฐมวัย, มอนเตสซอรี่, บริบทไทย

บทคัดย่อ

ผลจากการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ
มอนเตสซอรี่ ได้พบว่าคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่ของต่างประเทศสามารถสรุปได้ 31 ลักษณะ การค้นพบคุณลักษณะดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจว่าเด็กปฐมวัยในบริบทไทยที่เรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะมีคุณลักษณะดังกล่าวหรือไม่ และมีคุณลักษณะนั้นๆ มากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่บริบทไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และอาจารย์หรือครูประจำชั้น จำนวน 45 คน จากสถานศึกษา 10 แห่ง ที่จัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ และเป็นเครือข่ายของสมาคมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเด็กเป็นสำคัญ (TAMS) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยพิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสมของเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินระดับ กำหนดอันดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่บริบทไทย อยู่ใน

ระดับมากที่สุด 11 ลักษณะ และอยู่ในระดับมาก 20 ลักษณะสำหรับคุณลักษณะที่พบในระดับมากที่สุด
3 อันดับแรก อันดับ 1 คือ Happy/Full of Joy/Joy of Learning เด็กมีความสุข ร่าเริง สนุกสนานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และการใช้ชีวิตประจำวัน (M = 4.84, SD = 0.37) อันดับ 2 คือ Curiosity เด็กมีความสนใจใคร่รู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้ (M = 4.76, SD = 0.48) และอันดับ 3 คือ Frank เด็กแสดงออกถึงความจริงใจและตรงไปตรงมาในสิ่งที่พูดและการปฏิบัติ (M = 4.62, SD = 0.58) สำหรับคุณลักษณะที่พบในระดับมาก 3 อันดับสุดท้าย คือ อันดับ 29 คือ Organize เด็กสามารถจัดการและจัดระบบการทำงานของตนได้ (M = 4.11, SD = 0.65) อันดับ 30 คือ Global thinker เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างกว้างไกล เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป (M = 4.09, SD = 0.63) และอันดับ 31 คือ Problem-solving เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (M = 4.00, SD = 0.74) การอภิปรายผลการวิจัยภายใต้กรอบของมอนเตสเซอรี่ในบริบทไทยและความต้องการของโลกปัจจุบัน หลักการสำคัญของการสอน คือ ความสามารถของครูในการสังเกตและนำพาเด็กให้มีคุณลักษณะได้ตามแนวคิดของมอนเตสเซอรี่ครู คือ ผู้ที่จะนำพาเด็กให้มีคุณลักษณะได้ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลชาติ พันธุวรกุล และเมษา นวลศรี. (2562). เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง.

วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(เพิ่มเติม 2), 1-23.

คำแก้ว ไกรสรพงษ์. (2547). สมาคมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเด็กเป็นสำคัญ (TAMS). กรุงเทพฯ: โรงเรียน

อนุบาลกรแก้ว.

คันธรส ภาผล. (2563). การวิเคราะห์การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยของผู้ปกครอง: กรณีศึกษา

เขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์,

(3), 27-40.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2529). การสอนแบบมอนเตสซอรี่. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 3(2), 64-75.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2554). การสอนแบบมอนเตสซอรี่ : จากทฤษฎีสู่แนวทางนำไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบัน

พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2549). แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน

จาก http://www.pecerathailand.org/2018/01/633.html

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2559). แนวคิดและแนวปฏิบัติในการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กปฐมวัย, บทความ

วิชาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.), 131 – 132.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และจิราพร รอดพ่วง. (2562). การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัย

เชิงสำรวจ, วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(4), 124 – 144.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). ฟินแลนด์รั้งแชมป์ประเทศที่ผู้คนมี “ความสุข” มากที่สุดในโลกปีที่ 4 ติดต่อกัน.

เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2564. จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/2053737

ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2564). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1),

-89.

นันทา โพธิ์คำ. (2563). ทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยา

เขตร้อยเอ็ด, 9(2), 707-721.

บทสัมภาษณ์ เมแกน ไทน์ และกรรณิการ์ บัด. (2560). 12 ปี “มอนเทสซอริ” ในไทยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางย้ำ

ศักยภาพต้นแบบอาเซียน”. ประชาชื่น-ไอที., วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2560,

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2529). ให้ลูกน้อยช่วยทำงานบ้านเป็นผลดีกับชีวิตของลูก. เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน

https://www.winnews.tv/news/10605

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2560). เด็กไทยร่วม 30% มีปัญหาการคิดเชิงบริหาร. เข้าถึงเมื่อ14 เมษายน

https://www.dailynews.co.th/education/612594

พรสุดา เพ็ชรเลิศ และปิยะนันท์ หิรัญชยโลทร. (2561). การส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยการ

จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามฉบับพิเศษ ประจำ 2561. เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน 2564. จากhttp://journal.msu.ac.th/upload/journal_file/jfile_no124_56565.pdf

มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ. (2561). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยในยุคประเทศไทย 4.0.

วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 283-299.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2560). ฝึกลูกให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง. เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน 2564. จาก https://mgronline.com/qol/detail/9600000026397

Lillard, A. S. (2012). Preschool children’s development in classic Montessori, supplemented

Montessori, and conventional programs. Journal of School Psychology. 50, 379-401.

Montessori Children's Center. (2019). 10 Characteristics of Children in the Montessori

Classroom. Retrieved 4 October 2019 from

https://montessorichildrensctr.com/articles-links-of-interest/10-characteristics-of-

children-in-a-montessori-classroom/

Montessori, M. (1964). The Montessori method, New York: Schocken Books.

Montessori, M. (1965). Dr. Montessori’s own handbook. New York: Schocken Books.

Standing, E. M. (1962). Maria Montessori her life and work. New York: The New American

Library Inc..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-23