การส่งเสริมความสามารถในการนับจำนวนของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมเกมนับผักหรรษา

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ เหมชะญาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิสสุตา ศิริโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เกมนับผักหรรษา, ทักษะทางคณิตศาสตร์, เกมการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการนับจำนวน 1-10 ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ก่อนและหลังใช้กิจกรรมเกมนับผักหรรษา กลุ่มตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่อยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนพีระยา นาวิน จำนวน 32 คนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมเกมนับบผักหรรษา และแบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลความสามารถในการนับจำนวน 1-10 ของเด็กปฐมวัย ใช้การวิเคราะห์ด้วยความถี่ จำนวน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมเกมนับผักหรรษาส่งผลต่อความสามารถในการนับจำนวน 1-10 ของ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 โดยกิจกรรมเกมนับผักหรรษาสามารถส่งเสริมความสามารถในการนับจำนวน 1-10 ได้ โดยมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นจากก่อนการใช้กิจกรรมเกมนับผักหรรษา 2.53 คะแนน

References

นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.

เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ. (2547).คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. โครงการพัฒนาตำราสถาบันราชภัฏเชียงใหม่

ลำดับที่ 230.

วรรณีวัจนสวัสดิ์. (2552). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท). (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัด

ประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยตาม

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560.กรุงเทพฯ: โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).

สุพิชฌาย์ ทนทาน, วไลพร เมฆไตรรัตน์ และสิริพร ปาณาวงษ์. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกม

การศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.วารสารวิชาการและวิจัย

สังคมศาสตร์, 11(33), 143-158.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-03