การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียที่มีต่อทักษะทางสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ภิรดี วัชรสินธุ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • อนุสรา แก้วพรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ทิพรดา หงษ์ร่อน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ชนิสรา นุ้ยแหลมหลัก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • เมธาวิณี รัศมี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ฤกษ์ขวัญ แอกทอง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์, การจัดสวนถาดหรรษา, ทักษะทางสมอง (EF)

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย เพื่อส่งเสริมทักษะทางสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย ระหว่างการวัดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร จำนวน 1 ห้อง จำนวนทั้งหมด 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย และแบบประเมินทักษะทางสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย ปฐมวัย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย มีค่าเฉลี่ยการวัดทักษะทางสมอง (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน ครั้งที่ 2 สูงกว่า การวัดครั้งที่ 1 และ 2) การเปรียบเทียบทักษะสมอง (EF) ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเมล็ดพืช ภาพรวมเด็กปฐมวัยมีคะแนนพัฒนาการ 67.96 % อยู่ในระดับสูง

References

กมลรัตน์ คนองเดช, สุนิศา ธรรมบัญชา, อาทิตยา วงศ์มณี, เสาวลักษณ์ สมวงษ์, และนวพร แซ่เลื่อง. (2563).

ผลการจัด ประสบการณ์โดยใช้สื่อและของเล่นที่มีต่อทักษะ EF ของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนร่วม

พัฒนาวิชาชีพครู เขตพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

กันตวรรณ มีสมสาร, และกัญจนา ศิลปะกิจยาน. (2561). การพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุค 4.0.

วารสารวไลยอลงณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 171-174.

จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็หกปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 13 (1), 11-14.

ชนารดี พรมทอง, โสภิดา ศรีคัมโพธิ์, อนัญญา ถาตุ้ย, อนุธิดา ปกปัด, อรกานต์ เพชรคุ้ม, มานิตา ลีโทชวลิต

อรรถนุพรรณ, และธิดาพร คมสัน. (2561). การพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุค 4.0. วารสารวไลยอลงณ์

ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 171-174.

ณัฏฐณี สุขปรีดี. (2565). ผลของการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของนักศึกษา

หลักสูตร ประกาศบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(2), 53.

ภรณี คุรุรัตนะ. (2547). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรีสานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาแห่งชาติ.

วราลี โกศัย. (2562). กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยกับ EF. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565, จาก http://blog.bru.ac.th/2019/09/06/

สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพฯ:

สํานักพิมพ์รักลูกบุ๊คส์.

อวยพร ออละมาลี. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะ

ทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย และพหุสัมผัส. สกลนคร: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสกลนคร.

อัญชนา ใจหวัง. (2561). ผลของกิจกรรมการเต้นสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารด้านพื้นฐานในเด็ก

ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Rita Z. Goldstein, Ph.D. and Nora D. Volkow, M.D. (2002). Drug Addiction and Its Underlying

Neurobiological Basis: Neuroimaging Evidence for the Involvement of the Frontal

Cortex. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1201373/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-03