ผลของการใช้ชุดนิทานอีสปร้อยกรอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กอนุบาลปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • สาคร วุฒิศักดิ์ชัยกุล โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย

คำสำคัญ:

นิทานอีสปร้อยกรอง, ทักษะทางภาษา, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดนิทานอีสปร้อยกรอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กอนุบาลปีที่ 3  กลุ่มเป้าหมาย เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3   ที่มีอายุ ระหว่าง 5-6 ปี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 23 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นห้องเรียนที่ผู้วิจัยสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสือส่งเสริมศักยภาพการรู้หนังสือของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ชุดนิทานอีสปร้อยกรอง จำนวน 12 เรื่อง และ 2) แบบวัดทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลองใช้ชุดนิทานอีสปร้อยกรอง
เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางภาษาด้านการพูดสูงกว่าก่อนการทดลอง และ 2) หลังการทดลองใช้ชุดนิทานอีสปร้อยกรอง เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางภาษาด้านการพูดสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : บริษัทเอดิสันเพรส

โปรดักส์ จำกัด.

กัลยา นิ่มจิตต์. (2545). การศึกษารูปแบบการเล่านิทานของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง

กรุงเทพมหานคร . ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2540). แนวทางการพัฒนาจิตพิสัยในระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

ชัยพร วงศ์วรรณ. (2540). เอกสารคำสอน การสอนค่านิยมและจริยธรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยี

ราชมงคล.

ดวงเดือน ศาสตรภัทร. (2535). การเปรียบเทียบทฤษฎีพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีศักดิ์ ยูซุบ. (2546). ผลการให้ประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถทางภาษาที่มีต่อทักษะทางสังคมและ

ความสามารถทางภาษาของนักเรียนอนุบาล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เนื้อน้อง สนับบุญ. (2541). ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่านิทาน.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรีดา ปัญญาจันทร์. (2553 ). เล่า ร้อง เต้น เล่นละคร. กรุงเทพฯ : สาราเด็ก.

ประไพ แสงดา. (2544). ผลของการจัดกิจกรรมเสริมการเล่านิทานไม่จบเรื่องที่มีต่อความสามารถด้านการ

เขียนของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2537). ประมวลสารชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย

หน่วยที่ 5 – 8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สัณหพัฒน์ อรุณธารี. (2542). นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. ภูเก็ต : สถาบันราชภัฏภูเก็ต.

Berk, E.L. (1996) . “ Vygotsky’ s Theory : The Important of Make – Belive Play.” Young

Children, 50 (1) : 30 – 39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-01