S-IPADS Plus : นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวบูรณาการสำหรับ เด็กปฐมวัยแนวใหม่
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, วิทยาศาสตร์, เด็กปฐมวัย, แนวบูรณาการบทคัดย่อ
S-IPADS Plus เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัยแนวใหม่ ที่โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมด้วยเสียงเพลง นิทาน หรือเรื่องเล่า (S - Song หรือ Story) ขั้นที่ 2 สร้างแรงจูงใจ (I – Inspiration) ขั้นที่ 3 แผนการทดลองตามขั้นตอน (P – Plan) ขั้นที่ 4 กิจกรรมการทดลองปฏิบัติการและการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ (A – Activity) ขั้นที่ 5 การบันทึกสิ่งที่สังเกต (D – Document) ขั้นที่ 6 ทบทวน ทำซ้ำ สังเกตมีเพลงประกอบ (S – Song Discovering Song) และได้นำเอาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ P.O.E
ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยมาผสมผสาน จึงทำให้เกิดคำว่า Plus จากการสังเกตพฤติกรรม และการเผยแพร่รูปแบบดังกล่าวสู่ครูจากทั่วประเทศที่สมัครเข้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เครือข่ายโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา พบว่า 1) เด็กมีความสนุกสนานจากนิทานและเรื่องเล่า ได้ทดลองปฏิบัติจริง มีการบันทึกผล ได้ทำซ้ำ ได้ฝึกสังเกต พร้อมฟังเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่เห็น ได้ฝึกฝนการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขณะปฏิบัติการทดลอง เน้นทักษะ P.O.E 2) ครูมีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ครูได้พัฒนาการสอนภาษาควบคู่กับการสอนวิทยาศาสตร์ 4) ครูได้นำรูปแบบ S – IPADS Plus ไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 และกรอบสาระการเรียนรู้และกิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 5) ครูได้ตระหนักในการใช้กิจกรรมการปฏิบัติการทดลองเพื่อสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรรณทิพา มีสาวงษ์ (2554). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการใช้คำถาม ที่มีต่อทักษะการ
คิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. https://www.east.spu.ac.th/journal/booksearch/upload/1240-82.pdf
ศศิพรรณ สําแดงเดช. (2553). ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ ทดลองหลังการฟังนิทาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ไสยวรรณ. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สําหรับเด็ก
ปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์กศ.ด. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
อุไรรัตน์ ญาติรัก และคณะ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการใช้เพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัย.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 22 มิถุนายน 2560 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์