ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อม สำหรับสถานศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สุภาพร มูฮำหมัด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • นิศารัตน์ อิสระมโนรส คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

MACRO model, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชาย-หญิง ระดับชั้นปีที่ 3 ที่ศึกษาอยู่ในรายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัยตามรูปแบบ MACRO model จำนวน 8 สัปดาห์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย แบบสังเกตพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย และแบบสังเกตผลการปฏิบัติงานการสร้างโมเดลการออกแบบการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารสถานศึกษาปฐมวัยของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์

ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model นักศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 12.76 หลังเรียนเท่ากับ 14.95 พบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบมีค่าเท่ากับ 2.19 และคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ของผู้เรียนมีค่าร้อยละ 21.49 ส่วนคะแนนพฤติกรรมการตั้งใจเรียน นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 1.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 1.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 และคะแนนผลการปฏิบัติงานการสร้างโมเดล นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 1.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 2.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40      

References

ขนิษฐา บุญภักดี. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับ

ปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

ธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก.

ชุติมา นุ้ยชิต, จิระสุข สุขสวัสดิ์ และนิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบ

แมโครเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขา

ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดวงใจ งามศิริ, นิภาพร บุญยศ และนิพล พินิจวัจนะวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active

Learning โดยใช้รูปแบบ MACRO model ในรายวิชาการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. วารสาร มจร

นครน่านปริทรรศน์. 3(2), 71-76.

ดิเรก วรรณเศียร. (2558). MACRO model : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนดุสิต.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). MACRO model โมเดลการสอนสู่ศตวรรษที่ 21(ออนไลน์). แหล่งที่มา:

https://www.trueplookpanya.com/education/content/84985/- teamet- (สืบค้นเมื่อ 1

มิถุนายน 2564).

พงษ์ธลักษณ์ สิบแก้ว, ธเนศ พงศ์ธีรัตน์ และปิยะรัตน์ ชาวอบทม. (2562). เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบ

MACRO เรื่อง ระบบประสาท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต.

พัฒนพงษ์ สีกา. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นผลจากการทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2548 ของ

จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผล.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ประภา อรัญมิตร. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 โดยการวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผล. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ออนไลน์). แหล่งที่มา:

http://www.wattoongpel.com (สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562).

ฟิกรี กีไร. (2561). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา

เรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ MACRO MODEL ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วุฒิชัย ดานะ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนของนักศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สกลพร อ่อนละออ. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MACRO model(ออนไลน์). แหล่งที่มา:

https://www.gotoknow.org/posts/677674 (สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564).

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

_______. (2553). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมาน นาวาสิทธิ์. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จทาง

วิชาการของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุเทพ อ่วมเจริญ, วัชรา เล่าเรียนดี และประเสริฐ มงคล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้าง

ความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (1) : 28 – 46.

Smith, S. C. & Piele, P. K. (2006). School leadership : Handbook for excellence in student

learning (4 Eds.). Thousand Oaks, CA. Corwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28