การพัฒนาความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้บัตรภาพ AR

ผู้แต่ง

  • เฟื่องฟ้า พันธุราษฎร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านการพูด, บัตรภาพ AR

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้บัตรภาพ AR กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1 ห้อง La or plus K.1/2 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบัตรภาพ AR และแบบประเมินความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านบัตรภาพ AR ก่อนจัดกิจกรรม มีผลรวมเท่ากับ 67 คะแนน มีค่าเฉลี่ย = 3.94 แต่หลังจากจัดกิจกรรมแล้วความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย มีผลรวมเท่ากับ 216 คะแนนเฉลี่ย  = 12.7 จะเห็นได้ว่า ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบัตรภาพ AR มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบัตรภาพ AR

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การจัดการศึกษาทางเลือกในประเทศไทย.กรุงเทพฯ วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

ก้องเกียรติ หิรัญเกิด. (2557). Augmented Reality Open Source for Project เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : Fast-Books.

ชวนพิศ จะรา. (2556). การพัฒนาการเรียนด้วยเทคโนโลยีผสานความจริง (AR) ร่วมกับหนังสือนิทานสองภาษาโดยใช้ กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/กรุงเทพฯ.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2556). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดุสิต ขาวเหลือง.(2549). การบูรณาการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ 18(1) มิถุนายน – ตุลาคม 2549, หน้า 29

เบญจมาศ พระธานี. (2540). วรรณกรรมเด็ก.พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวฒนาพานิช.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556,มีนาคม-เมษายน). สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง(Augmented Reality) ชุดการจมและการลอย. เรื่องเด่นประจำฉบับ. 41(181). 28-31.

วิกร ตัณฑวุฑโฒ และวรัทยา ธรรมกิตติภพ. 2555. “หน่วยที่ 10 การวิจัยเชิงทดลองในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.” ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยเพื่อ พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หน่วยที่ 8 -15. นนทบุรี: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

สุพัตรา บุ่งง้าว. (2560). การใช้นิทานภาพเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูด. คณะครุศาสตร์ (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28