การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา คงเรือง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ณฐมนต์ คมขำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้การจัดค่ายวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่เรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน  28 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดการคิดวิจารณญาณ มีความตรงเชิงเนื้อหา 0.8-1.0 และแผนการจัดการเรียนรู้การจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมีค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 0.6 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าคะแนนมาตรฐาน T-Score และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดี ส่วนใหญ่มีเกรดค่าระดับคะแนนอยู่ในระดับดี รองลงมาอยู่ในระดับดีมาก นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดวิจารณญาณ อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อนำมาวิเคราะห์ค่าคะแนนมาตรฐานที (T-score) พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดวิจารณญาณ คิดอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาอยู่ในระดับดี คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนการคิดวิจารณญาณมีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับปานกลาง (r = 0.428)

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2558). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ดนุชา สลีวงศ์. (2555). ผลของการเรียนด้วยกรณีศึกษาบนเว็บที่ใช้เทคนิคการตั้งคำถามและการคิดสะท้อน ที่มีต่อการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารารัตน์ มากมีทรัพย์. (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา วิชาการเลือกการใช้สื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดำรงศักดิ์ สุดเสน่ห์. (2561). กระบวนการสร้างเสริมศักยภาพการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ตามธรรมชาติวิชาวิทยาศาสตร์ กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์และอุษา ชูชาติ. (2544). รายงานเรื่องฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุภัทรา คงเรือง. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Yang, Y.T.C., (2008). A Catalyst for teaching critical thinking in large university class in Taiwan: asynchronous online discussion with the facilitation of teaching assistants. Educational Technology Research and Development 2008Z56), pp. 241-264

Aten, L.L. (2004). Using guided learning journals to foster refection and professional judgment in teachers. EdD The University of Texas At San Antonio.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28