การศึกษาการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูปฐมวัยในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ A Study of Using Early Childhood Teacher Professional Learning
คำสำคัญ:
รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูระดับปฐมวัยมาใช้ในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ โดยกำหนดวิธีดำเนินการเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมของชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ การสร้างความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียนเพื่อสร้างทีมในการพัฒนา และระยะที่ 2 การเรียนรู้ผ่านโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ กระบวนการทำงานร่วมกันอย่างกัลยาณมิตรของครูที่มีลักษณะงานสอนคล้ายกันเพื่อพัฒนา การเรียนการสอนที่ส่งผลต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูระดับปฐมวัยโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม การใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูระดับปฐมวัยอยู่ในระดับปฏิบัติมาก (μ = 4.17) ระยะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระยะที่ 2 การเรียนรู้ผ่านโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (μ = 4.23) องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (μ = 4.28) รองลงมา คือ การปรับปรุงรูปแบบและ การปฏิบัติ (μ = 4.25) และการวางแผนการดำเนินงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (μ = 4.20) ตามลำดับ ส่วนระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมของชุมชนแห่งการเรียนรู้ (μ = 4.11) องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การปรับปรุงเป้าหมายและแผนงาน (μ = 4.24) รองลงมาคือ การสร้างความร่วมมือรวมพลัง (μ = 4.16) การตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ (μ = 4.06) และการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน (μ = 3.99) ตามลำดับ
References
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: M&N Design.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2557). การใช้วงจรเดมมิ่ง (พีดีซีเอ) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เออิสุเกะ ไซโตะ, มะสะซึงุ มุระเสะ, อะซึชิ ซึคุอิ, และจอห์น ยีโอ. (2015). พัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ [Lesson study for learning community] (อารี สัณหฉวี, ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
DuFour, R., DuFour, R., & Eaker, R. (2008). Revisiting professional learning communities at work. Bloomington, IN: Solution Tree.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์