บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมความสามารถทางอารมณ์และสังคมแก่เด็กวัยอนุบาล โรงเรียนนานาชาติมีสุข กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ หน่างเกษม
  • ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

คำสำคัญ:

บทบาทผู้ปกครอง, ความสามารถทางอารมณ์และสังคม, เด็กวัยอนุบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมความสามารถทางอารมณ์และสังคมของเด็กอนุบาล ใน 4 ด้าน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อม การสื่อสาร การอบรมสั่งสอน และ การพัฒนาตนเอง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 108 คน โรงเรียนนานาชาติมีสุข (นามสมมุติ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม คุณภาพของเครื่องมือ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่งเสริมความสามารถทางอารมณ์และสังคมแก่เด็กอนุบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( M= 3.76 S.D. = 0.96) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดสภาพแวดล้อม ( M= 4.01 S.D. = 0.90)  รองลงมา คือ การอบรมสั่งสอน ( M= 3.89 S.D. = 0.83)การสื่อสาร (  M= 3.80 S.D. = 0.91) และ การพัฒนาตนเอง ( M= 3.34 S.D. = 1.21) ตามลำดับ

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boules, M.(2017). Supporting young children’s social competene. retivede from https://think.iafor.org/supporting-young-childrens-social-competence.
Browne, C. H., & Shapiro, C. J. (2016). Innovative approaches to supporting families of young children. Retrieved from https://www.springer.com/la/book/9783319390574
Goodman, A., Joshi, H., Nasim, B., & Tyler, C. (2015). Social and emotional skills in childhood and their long-term effects on adult life. Retrieved from http://www.eif.or.uk/wp-content/uploads/2015/03/EIF-Strand-1- Report-FINAL1.pdf
Guralnick, M. J. (1990). Social competence and early intervention. Journal of Early Intervention, 14(1), 3 - 14.
Han, H. S., & Kemple, K. M. (2006). Components of social competence and strategies of support: Considering what to teach and how. Early Childhood Education Journal, 34(3), 241 - 246.
Institute for Family Violence Studies. (2010). Emotional and social competence of children. Retrievedfromhttps://familyvio.csw.fsu.edu/wp-content/uploads/2010/05/6 Protective-Factors-SIXFinal_reduced.pdf
Raver, C. C., & Knitzer, J. (2002). Ready too enter: What research tells policymakers about strategies to promote social and emotional school readiness among three-and four-year-old children. Retrieved from https://academiccommons.columbia .edu. doi:10.7916/D82V2QVX
Zosh, J. N., Hopkins, E. J., Jensen, H., Liu, C., Neale, D., Hirsh-Pasek, K., & Whitebread, D. (2017). Learning through play: A review of the evidence. Retrieved from https://www.legofoundatation.com/media/1063/learning-through-play_web.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-27