คุณลักษณะและจิตสำนึกของเด็กยุคดิจิทัลกับการปรับกระบวนทัศน์ใหม่

ผู้แต่ง

  • สุริยเดว ทรีปาตี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jecem.2019.8

คำสำคัญ:

ทุนชีวิต, เจเนอเรชั่นอัลฟ่า

บทคัดย่อ

ยุคดิจิทัลที่มีการใช้สื่อเทคโนโลยีกันทั่วทุกมุมโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมที่รวดเร็ว สังคมที่ก้าวสู่ยุคดิจิทัลจัดเป็นสังคมยุคเจเนอเรชั่นอัลฟ่าที่เด็กเกิดมาพร้อมเทคโนโลยี จากการศึกษางานวิชาการพบว่า เด็กยุคดิจิทัล มีความฉลาดรอบรู้มาก กล้าแสดงความคิดเห็นและมีการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูล รวมทั้งเอื้อประโยชน์ในหน้าที่การงาน มีค่านิยมมองประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง แต่ขาดทักษะการจัดการคุมอารมณ์ ขาดความอึดอดทน อ่อนต่อวิชาชีวิตและความเคารพต่อกันโดยเฉพาะกับคนที่ต่างเจเนอเรชั่น และขาดทักษะเผชิญความยากลำบากเด็กในยุคดิจิทัลจำเป็นอย่างยิ่งในการได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่เป็นจุดอ่อน ปัญหาอุปสรรคหรือการเผชิญความยากลำบากและทักษะปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนสังคมที่ต่างวัย ประกอบกับความเข้าใจในพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล “เด็กเกิดมาไม่ใช่ผ้าขาว” เด็กทุกคนเกิดมาใสบริสุทธิ์บนพื้นฐานอารมณ์ที่ต่างกัน ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของเด็กได้ง่ายขึ้น ความเหมาะสมจึงอยู่ที่เทคนิคการเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์และศิลปะในการเลี้ยงลูกที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน นอกจากนั้นงานวิจัยทุนชีวิตยังสะท้อนกระบวนทัศน์ที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ในการดูแลเด็กในเจเนอเรชั่นอัลฟ่ากระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาเด็กยุคเจเนอเรชั่นอัลฟ่าให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นการพัฒนาเด็กให้มีทักษะรู้คิดเพื่อก้าวสู่สัมมาชีพและใฝ่เรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกับสังคมและจิตสำนึกสาธารณะเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติสุข

References

Tripathi, S., Sungthong, P. &Salajun, S. (2010). The National Survey of Life Assets (Positive Youth Development) of Secondary School Students in Thailand. Thai Pediatric Journal. 17(1), 7-15. (in Thai)
Tripathi, S. (2011). Life Assets of Thai Children and Youth (7th ed.). Bangkok. October Print. (in Thai)
Tripathi, S.&Musikpan, W. (2013). Children Life Quality. Bangkok: Appa Printing. (in Thai)
Tripathi, S. et.al. (2015). Human Assets development in children and Youth for a good society. Academic report document for Intermediate Certificate Courses - Good Governance for Medical Executives. King Prajadhipok’s Instutute. (in Thai)
Tripathi, S. (2016). Life Assets; Positive Youth Development of Thailand. In Areemitr, R., In-Eew, S., Hongsangunsri, S., Manaboriboon, B.&Jarurattanasiri, S. (Eds.), Textbook of Adolescent Madicine (pp. 73-84). Bangkok:Anukamkarn. (in Thai)
Tripathi, S. (2016).Children of Alpha Generation and Learning. In Tripathi, S. &Musikpan, W (Eds.), Quality of Life of Early Childhood Children (pp. 165-169). Bangkok: BKK Pro. (in Thai)
Tripathi, S. (2017). Development of Children and Youth to be Quality Citizens (Smart Kids Smart Citizen). In Banyat, S., Yongyon, B. & Nopmaneechumras, K. (Eds.), Substance for child and family development (pp. 67-72). Nakhonprathom: Mahidol University. (in Thai)
Tripathi, S. (2018). Characteristics, Skills Needed in Generation Alpha children. Anniversary Documents 2018 YannawaitWittayakhom School. Bangkok. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-04

How to Cite

ทรีปาตี ส. (2019). คุณลักษณะและจิตสำนึกของเด็กยุคดิจิทัลกับการปรับกระบวนทัศน์ใหม่. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 90–100. https://doi.org/10.14456/jecem.2019.8