“สื่อประดิษฐ์ยังมีความจำเป็นหรือไม่ในยุคดิจิทัล”
DOI:
https://doi.org/10.14456/jecem.2019.6คำสำคัญ:
สื่อประดิษฐ์, ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทและเป็นปัจจัยสำคัญในทุกด้านของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้กระทั่งในด้านการศึกษา เทคโนโลยีถูกเลือกให้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย ผู้สอนจึงจำเป็นที่จะต้อง
นำสื่อเทคโนโลยีหรือสื่อดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น แม้บางคนจะมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ยังไม่ดีพอก็ตาม ส่งผลให้สื่อประดิษฐ์หรือสื่อทำมือถูกลดความสำคัญลงไป ทั้ง ๆ ที่สื่อประดิษฐ์สามารถเร้าความสนใจ
ของผู้เรียนได้ดีและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะผู้เรียนสามารถจับต้องสื่อประดิษฐ์ได้
ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านเครื่องมือดิจิทัลใด ๆ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าสื่อเทคโนโลยีจะไม่มีข้อดีหรือไม่เหมาะสม
สำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคนี้แต่ประการใด หากแต่ควรปรับใช้เทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กับการใช้สื่อประดิษฐ์อย่าง
เหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด อีกทั้งยังมิได้เป็น
การละเลยสื่อประดิษฐ์ทั้งวิธีการทำและวิธีการนำไปใช้ เพราะสื่อประดิษฐ์เป็นสื่อที่ถูกถ่ายทอดผ่านความรู้ ความสามารถ
ความคิดสร้างสรรค์ และความตั้งใจของผู้สอน ดังนั้นสื่อประดิษฐ์จึงยังมีคุณค่าและความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทาง
การศึกษาทุกคนไม่ควรละเลยแม้จะเป็นยุคดิจิทัลก็ตาม
References
Instruction media. (2018, May 1). Retrieved from http://nam791wordpress.com/2016/02/15/สื่อการสอน. (In Thai)
Jaitheang, A. (2010). Teaching Preinciples(5th ed.). Bangkok: Odeon Store Ltd. (In Thai)
Learning Theory and Instruction Design. (2018, May 6). Retrieved from http://www.Banpyramid.com/Article/ AttArticle2.html. (In Thai)
Malithong, K. (2005). Educational Technology and Innovation (2nd ed.).Bangkok: Arunkanpim Ltd. (In Thai)
Rakkamnerd, P. (2012). Instruction media. Retrieved fromhttp://gotoknow.org/posts/336861.(In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์