การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์
วนิดา ชูเกียรติวัฒนากุล
เก็จวิรัล ตั้งสิริวัสส์
WEI JIE
QIN DONG DONG

บทคัดย่อ

การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรในด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2556) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร จำนวน 117 คน ได้แก่ 1) นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 100 คน 2) คณาจารย์ประจำหลักสูตรผู้สอนรายวิชาต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศจำนวน 10 คน และ 3) ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ (คณบดีรองคณบดีฝ่ายบริหารรองคณบดีฝ่ายวิชาการประธานบริหารหลักสูตรและกรรมการบริหารหลักสูตร) จำนวน 7 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาปัจจุบันเกี่ยวกับหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และผลการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ

1) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรในด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือการจัดกิจกรรมที่ได้ฝึกภาษากับเจ้าของภาษามากกว่านี้ทางคณะควรจัดห้องวิชาเอกการสอนภาษาจีนฯ เพื่อความสะดวกของนักศึกษาและอาจารย์ภายในเอกมีการเรียนรู้นอกสถานที่และค่าเทอมที่มีราคาสูงควรจะจัดหาสถานที่อุปกรณ์หรือให้การสนับสนุนให้มากกว่านี้

2) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร(หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2556) แบ่งเป็นรายด้านได้ดังนี้คือ 1) สภาวะแวดล้อม (Context หรือ C) 2) ปัจจัยนำเข้า (Input หรือI) 3) กระบวนการ (Process หรือ PC) 4) ผลผลิต (Product หรือ PD) โดยสรุปหลักสูตรมีระดับคุณภาพหรือการมีผลผลิตตามวัตถุประสงค์ในระดับดีสมควรที่จะดำเนินการต่อไป เพียงแต่ต้องปรับปรุงองค์ประกอบย่อยบางประเด็นเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น

 

The Curriculum Evaluation of Bachelor’s Degree Program in Teaching Chinese as a Foreign Language, Faculty of Education, Silpakorn University

For the curriculum evaluation of Bachelor degree of Education on Teaching Chinese as Foreign language major in Faculty of Education, Silpakorn University, it aimed to 1) evaluate Bachelor degree of Education curriculum focusing on Teaching Chinese as Foreign language major (the Edition of B.E. 2556). It was included the context, input, process, and product, 2) to study the problems and guidelines for curriculum development of Bachelor degree of Education curriculum focusing on Teaching Chinese as Foreign language major (the Edition of B.E. 2556)

Data collection was collected from 117 subjects who were 100 students from freshmen, sophomores, and juniors, 10 peoples who were instructors and experts, and 7 people who were Faculty of Education dean, deputy dean, program chairperson, and program administrative board. The instructors’ opinions about the current curriculum interview forms, students’ opinions questionnaires toward curriculum were research instrument. Moreover, there were more interview form forFaculty of Education dean, deputy dean, program chairperson, and program administrative board. Means and standard deviation were analyzed and follow up with content analysis.

The results were followed as

1. The evaluation of input, process, and product on Bachelor degree of Education curriculum focusing on Teaching Chinese as Foreign language major (the Edition of B.E. 2556) were at high level. However, there were some suggestions from the study that practical activities with native speakers should be provided increasingly. Moreover, the faculty should set the Chinese room for being convenience instructors and students. Besides this, it should offer the field trip for real experience.While the high education cost, it should be prepared the place, materials or other supports.

2. The problems and guidelines for curriculum developments were considered on 44 aspects which were 1) context or “C” 2) input or “I” 3) processor “PC” and 4) product or “PD”. In conclusion, this curriculum was reached the quality or providing products according to the objectives at high level and ought to continue operation with some aspects development for the higher quality

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)