การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ สาระทัศนศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศิรินทิพย์ ดาทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ E1/E2 กำหนดเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ กอ่ นเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนปัญจรักษ์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัย

1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.83/84.16

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมด

4. นักเรียนมีความพึงพอใจตอ่ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.31, S.D.= 0.17)

 

Enhancing Creative Thinking through the Performance Process with Six Thinking Hats Technique, Visual Arts Strand, Protomsuksa 6 Students

This research aimed to 1) develop learning management through performance process and six thinking hats technique, Visual Arts strand for Pratomsuksa 6 students in accordance with the criteria set (E1/E2) as80/80, 2) compare creative thinking of students who had learned with the developed performance process and six thinking hats technique before and after the implementation, 3) verify the average score of creative thinking of students who had learned through performance process and six thinking hats technique with the percentage of 70 or more, and 4) determine the satisfaction of students toward leaning management through performance process and 6 thinking hats process. Target group were 10 pratomsuksa 6 students in 2nd semester of academic year 2013, Panjarakschool, Selapumi district, Roi-Et, under the supervision of Roi-Et Primary Educational Service Office Area 3. Research instruments were 1) 6 lesson plans the plan vacates 2 hours, total up 12 hours, 2) creative thinking assessment form, and 3) satisfaction questionnaire. Statistics employed for analyzed of the data included percentage, means, standard deviation, and Wilcoxon Signed Ranks Test.

The results were as follows:

1. The efficiency of learning management which emphasized creative thinking through performance process and six thinking hats technique of Pratomsuksa 6 students was 83.83/84.16

2. The creative thinking of students who learned through performance process and six thinking hats was significantly higher than before at the level of .01

3. The percentage of students who learned through performance process and six thinking hats technique and possessed the average score at the percentage of 70 or more was at the percentage of 90 of all students.

4. Satisfaction score as a whole of students were satisfied with the developed learning management which emphasized creative thinking through performance process and six thinking hats technique was at a high level (\bar{x}= 4.31, S.D.= 0.17)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)