การจัดการเรียนรู้แบบศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อภินภัศ จิตรกร

บทคัดย่อ

ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ผ่านมา มีการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา เป็นจำนวนมากในประเทศสหรัฐอเมริกา และรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ได้แพร่หลายเป็นอย่างมากทั่วโลก เป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนศิลปะและทางด้านวิชาการเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน กรอบแนวคิดทางทฤษฎีได้ถูกพัฒนาขึ้นซึ่งเชื่อมโยงกระบวนการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน (Arts-Based Learning) การเรียนรู้ด้วยศิลปะเป็นฐานเป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนโดยผ่านทางการใช้รูปแบบการสอนด้วยศิลปะทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นการแสดง ดนตรี นาฏศิลป์ หรือทัศนศิลป์ เข้าร่วมในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่รายวิชาศิลปะ จากการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยต่างๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบศิลปะเป็นฐานนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ทางการเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถส่งเสริมภาวะความเป็นผู้นำของผู้เรียน เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนและการพัฒนาทางด้านความคิด เพิ่มศักยภาพในการปรับตัวทางอารมณ์ ความฉลาดทางจิตวิญญาณ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้ นอกจากการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) เข้ากับการจัดการเรียนการสอนแล้ว การใช้ศิลปะบูรณาการเข้าร่วมด้วย (STEAM) จะสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตน

 

Arts-Based Learning to Enhance Creativity of Learners in 21st Century

During the past decade, Arts-Based learning was widely implemented in primary, secondary and higher education in the United States, and nowadays was widespread throughout the world. Arts-Based learning is a learning model integrating between art and academic learning to promote the academic achievement of the students. The theoretical framework has been developed which is linked to the process of innovation and technology with Arts-Based Learning. This learning method develops students through all kinds of arts practices such as theater, music, dance or visual arts implemented in the other subjects that are not art. The study of literatures and researches has shown that, with Arts-Based instruction, students have more opportunities to explore new experiences in learning which can promote the leadership, enhance academic achievement, stimulate learning interest, develop cognitive domain, raise up emotional adjustment, increase spiritual intelligence, and develop creative thinking of students. In addition, besides the integration of science, technology, engineering and mathematics (STEM) in an instruction, the implementation of art in the learning (STEAM) will enable students to learn more and to fully express themselves on their own potential.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)