การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

พัชรพร ศุภกิจ
อาทิตย์ญา โพธิ์สวย
ภัทรา อุ่นทินกร
มยุรี เจริญศิริ
วีรยุทธ พลายเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถครูสังคมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบ การโค้ช แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1) รูปแบบการโค้ช “4R Coaching Model” มี 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เริ่มต้น ขั้นที่ 2 ทบทวน ขั้นที่ 3 สะท้อนกลับ และขั้นที่ 4 ปรับปรุง รูปแบบนี้ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการโค้ช ทักษะการโค้ช การติดตามดูแล ระบบสนับสนุนและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการโค้ช

2) ประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ช ได้แก่ ความสามารถการโค้ชของครูผู้โค้ชอยู่ในระดับปานกลางครูผู้รับการโค้ชมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก ผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้รับการโค้ชอยู่ในระดับมาก

 

The Development of Coaching Model to Develop Learning Management Abilities of Social Teachers to Enhance Critical Thinking of Secondary School Students

The objectives of this research were to: 1) development and determine the quality of Coaching Model to Develop Learning Management Abilities of Social Teachers to Enhance Critical Thinking of Secondary School Students and 2) evaluate the effectiveness of Coaching Model to Develop Teaching Abilities of Social Teachers to Enhance Critical Thinking of Secondary School Students. The research instruments consisted of Coaching Model, interview form, coaching and instructional assessment form, and questionnaire. The data was analyzed by mean, standard deviation, and content analysis.

The research findings were as follows:

1) Coaching Model to Develop Learning Management Abilities of Social Teachers to Enhance Critical Thinking of Secondary School Students which was called “4R Coaching Model” consisted of 4 elements: Restart, Review, Reflect, and Revise. There were principles, objectives, process, coaching skills, monitoring and supporting factors to successfully implement the model.

2) The effectiveness of 4R Coaching Model indicated that; coaching abilities of the coaches were at the medium level, the coaches had learning management abilities to enhance critical thinking at the high level, learning outcomes and critical thinking of the students were higher statistically significant at the 0.5 level, the opinions of students toward the student-centered learning management were at the high level, and students had satisfaction toward teachers’ learning management at the high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)