The development of a project management is based on a course plan by using MIAP To promote the creative work of students Higher Vocational Certificate Level.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนโครงงานเป็นฐานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วย 3) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้เรียนจากการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนที่พัฒนาขึ้น และ 4) หาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ผลประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนโครงงานเป็นฐานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ (1) การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน และ (2) ประเมินผลงานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้เรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโครงงานเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีมาก และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนโครงงานเป็นฐานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลรภัส เทียมทิพร. (2559). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL). วารสารการจัดการ ความรู้ พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.asia/nDi4j
ครีทีฟทอร์ก. (2566). ความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566, จาก https://creativetalkconference.com/creative-and-communication-skills-in-the- 21st-century/
ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ. (2562). MIAP กับการจัดการเรียนรู้ระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการ อาชีวศึกษา, 2(2). 14-21.
ธนิษฐา โพธิ์อ่อง. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (การค้นคว้า อิสระ). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นวลจันทร์ ตระกูลวาง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2562). ทักษะการกำกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(2). 91-99.
วิชัย วงษ์ใหญ์ และ มารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning). กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิทวัส สุขชีพ และกฤช สินธนะกุล. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานสมรรถนะโดยใช้กระบวนการ เรียนรู้ MIAP ด้วยไมโครเลิร์นนิ่ง วิชา ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. ใน งานประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 24 (น. 1-10). โรงเรียนเสนาธิการทหารบก.
ศิริพล แสนบุญส่ง ธันว์รัชต์ สินธนะกุล และ กฤช สินธนะกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์และทักษะการ ทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิริพล แสนบุญส่ง และกฤช สินธนะกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการเรียน MIAP ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(2). 37-46.
สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2527). เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2-3. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สุวดี เหมือนอ้น. (2564). ปรับแนวทางการศึกษาไทย. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/infographic/5173-641123general.html
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง (สำนักงานใหญ่)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12 หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://cbethailand.com/
เอกอมร ภัทรกิจพงศ์. (2560). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินผลงานสร้างสรรค์ รายวิชาศิลปศึกษานิพนธ์ ประเภทงาน วิจิตรศิลป. วารสารครุศาสตร์, 45(4). 243-256.
พรพรรณ โชติพฤกษวัน. (2564). คู่มือการดำเนินงานตามแนวทางการนำสมรรถนะหลัก 5 ประการ สู๋การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในชั้นเรียน. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. http://academic.obec.go.th/images/document/1628858183_d_1.pdf