การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้ ผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสระกะเทียม (สถาพรทักษิณาคาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิกมีพัฒนาการ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในครั้งที่ 1 ( = 2.58, = 0.58) ในครั้งที่ 2 ( = 2.72, = 0.50) ในครั้งที่ 3 ( = 2.77, = 0.48) และในครั้งที่ 4 ( = 2.82, = 0.37) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ ( = 16.75, = 2.26) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ ( = 7.40, = 2.99) โดยมีพัฒนาการเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 73.91 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( = 2.87, = 0.07)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Angkanapatkajorn, V. (2012). Everything you should know for math teachers : Teaching
and Research Curriculum. Bangkok: Charansanitwong Printing Co.Ltd., Category.
(in Thai)
Driver, R,H, and bell. (1986). Student thinking and the learning of seience : A
constructivist. The School Review 67(240) : 443-456.
Fugkhao, S. (1993). The Development of Instructional System for Meaningful Learning in
Chemistry.
Hanpithak, K. (2016). The Effects of Learning Management Base on Constructivist Theory
Mathematical Concepts And Problem-Solving Ability on The Topic of
Triables of Grade 5 Students. Master of Education Program in Mathematics
Teaching Burapha University. (in Thai)
Khaemmani, T. .(2019). Pedagogical Sciences : Knowledge for effective organization of
learning Processes. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Kowtrakwl, S.(2013). Educational psychology. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Laowreandee, W., Kitroongrueng, P. and Sirisamphan, O. (2017). Proactive learning
management strategy To develop thinking and raise the quality of
education for the 21st century. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group
Company Limited. (in Thai).
Ministry of Education. (2012). Professional Science Teachers Approaches to effective
teaching and learning. Bangkok: Intereducation Supplies. (in Thai)
Nueng Chalerm, P. (2014). Learning Science in the 21st Century. Maha Sarakham: Aphichat
Printing LTD., Part.
PISA Centre. (2021). PISA Assessment Results 2018 Reading, Mathematics and Science.
Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).
(in Thai)
Pruengam, N. (2011).Developing Grade 11 Student’ Analytical Thinking Ability and
Learning Achievement in Chemistry on Acid-Base Using Problem-Based
Learning (PBL). Master of Education Program in Educationl Administration
Khonkaen University .(in Thai)
Sinlarat, P.(2020). 4 thought for Thai children. Bangkok ;Dhurakij Pundit University. (in Thai)
Worrakamin, D.(2016). project research report “A study of the ability to think critically
and to have a public mind to develop the potential of being a good
person of Thai students”. Bangkok ;Dhurakij Pundit University. (in Thai)
Yager, R. G. (1991). The Constructivist Learning Model”. The Science Teacher. (58)10, 52-57.