การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์

Main Article Content

กฤษฎา วรพิน

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนไทย ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้น่าสนใจ ทั้งนี้เป็นเพราะเนื้อหามีความเป็นนามธรรมสูง จึงส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พิจารณาจากผลการประเมินระดับประเทศที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ หนึ่งในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คือ แนวทางการสอนของผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการสอนแบบดั้งเดิม ซึ่งอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้   เชิงรุก (active learning) จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้มีการนำเสนอกลวิธี แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานตามแนวทางของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  ซึ่งพบว่า หลักการที่สำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน คือ 1) การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) การเรียนรู้ได้มาจากการลงมือปฏิบัติที่เหมาะสม 3) การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นได้ดีเมื่อแนวคิดทางคณิตศาสตร์มีความเป็นรูปธรรม 4) การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นกลไกสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และ 5) การเรียนรู้ด้วยตนเองต้องใช้ความรู้สึกและเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล ซึ่งแนวทางดังกล่าวสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้เองโดยธรรมชาติบนพื้นฐานของความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

Azuka, B. F. (2013). Means of Evaluating job of teaching. Journal of Education and Practice,

(13), 8-15.

Bell, S. (2010). Project-Based Learning for the 21st Century: Skills for the Future, The Clearing

House. Journal of Educational Strategies, 83(1), 39-43.

Education Resources Information Centre. (2012). Activity learning in elementary school

Mathematics. [Online]. Retrieved September 21, 2021, from http://www.eric,ed.gov/ERICwebportal/search/detailmini.jsp.html

Elliot, S., Thomas, A., & Joan L. (2002). Educational psychology; effective teaching, and

effective learning (3rd ed.). MC Graw Hill.

Emaikwu, S. O. (2012). Assessing the relative effectiveness of the three teaching methods in

the measurement of students’ achievement in mathematics. Journal of Emerging Trends in Educational Research and Policy Studies (JETERAPS), 3(4), 479-486.

Hung, D., Tan, S. C., & Koh, T. S. (2006). Engaged learning: Making learning an authentic

experience. In D. Hung & M. S. Khine (Eds.), Engaged learning with emerging technologies. Dordrecht.

Kaka, M. O. (2007). Games assisted instructional materials–A strategy for enhancing

students’ achievement in integrated sciences. Journal of Research in Curriculum and Teaching, 2(1), 120-128.

Max, A. S. (1998). Teaching mathematics, A source book of aids, activities and strategies

(2nd ed.). Prentice Hall.

Mackeachie, W. J. & Svinicki, M. (2006). Mackeachie’s Teaching Tips. Houghton Mifflin.

Mckeachie, W. J. (1986). Teaching and learning in the college classroom: A Review of the

Research Literature. Ann Arbor: Regents of the University of Michigan.

National Institute of Educational Testing Service. (2021). National Quality Assurance Examination

Result 2020. [Online]. Retrieved August 2, 2021, from https://www.niets.or.th/th/

catalog/view/280.html. (in Thai)

Ojonubah, J. O. (2009). The Influence of English Language Background on Mathematic

Achievement for Achieving National Agenda. Journal of Education, 5(1), 80–89.

Stoblein, M. (2009). Activity-based learning experiences in quantitative research

methodology for young scholars. [Online]. Retrieved August 18, 2021, from

www.pomsmeetings.org/...../011-0782.html

Treat, A., Wang, W., Chadha, R., & Hart Dixon, M. (2008). Major Developments in Instructional

Technology: Prior to the 20th Century. [Online]. November 17, 2021, from http://www.indiana.edu/~idt/shortpapers/documents/ITprior20.htm