การพัฒนาความสามารถทางการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น ภาคกลาง 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเวียงทุน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ใช้แบบทดสอบฉบับเดียว ทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน สลับตัวเลือก 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สรุปภาพรวมความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยความคิดเห็นด้านประโยชน์ที่ได้รับจาก การเรียนรู้อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
References
Department of Curriculum and Instruction Development. (2003). Reading promotion activities. (3 ed.) Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao (in Thai)
Duangprakesa, N. (2018). Learning Management within the Framework of Bloom's Taxonomy Questioning Method. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, (8)3 (in Thai)
Fuengfoo, D. (2016). The Development Reading Comprehension Activities Using the 5W1H Technique to Support Reading in Thai Language for Grade Six Students. (Master of Education Curriculum And Instruction ). Dhurakij Pundit University, (in Thai)
Posakritsana, P. (1989). Characteristics of Thai language. (2 ed.) Bangkok: Bamrungsan(in Thai)
Sirisomboonvej, P. (2004). A Development of Thai Lterature Instructional Model Based on Reader-Response Theory to Enhance Literature Responding, Reading Comprehension and Reflective Thinking Abilitie of Undergraduatestudents. (Doctor of Education Curriculum And Instruction) Chulalongkorn University. Bangkok(Thailand) (in Thai)
Sithsungnoen, C. (2019). Questions for Students' Learning Evaluation. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, (9)1 (in Thai)
Suksawang, S. (2019). Creative problem solving. [Online]. Retrieved September 10, 2021
from www.sasimasuk.com
Thambawon, N. (2001). The development thinking in children. Bangkok: Chulalongkorn University(in Thai)
ThawiSuk, B. (1985). Humans with Literature. (2 ed.) Bangkok: Odeon Store. (in Thai)
Wat Wiang Thun School. (2019). School Curriculum 2562. (in Thai)
Yuanmalai, K. (1996). Reading for life. Bangkok: O.S. Print Thinghouse. (in Thai)