The DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES THE USE OF DIGITAL TECHNOLOGY FOR TEACHING AND LEARNING WITH INFOGRAPHICS THAT AFFECTS DIGITAL LITERACY OF STUDENT TEACHERS FACULTY OF EDUCATION SILPAKORN UNIVERSITY

Main Article Content

patsuda yaboonwan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลงานการออกแบบสื่อสําหรับการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ของนักศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคต้น ปีการศึกษา 2564 ที่ลงในรายวิชา ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ดําเนินการกําหนดกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก เลือกทั้งหมด 3 กลุ่ม จํานวน 50 คน ประกอบด้วย สาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และสาขาวิชาศิลปศึกษา 


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3)
สื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอน 4) แบบวัดการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) 5) แบบประเมินผลงานการออกแบบสื่อสําหรับการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อมั่น และการทดสอบค่าที (t-test แบบ dependent)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) ของนักศึกษา ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ผลคะแนนการวัดผลการรู้ดิจิทัลหลังเข้าร่วมกิจกรรม (หลังเรียน) สูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม (ก่อนเรียน) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (ค่าเฉลี่ย=12.52,S.D.=2.94) 2) ผลการศึกษาผลงานการออกแบบสื่อสําหรับการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา มีภาพรวม อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย=11.7) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.63, S.D.=0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)