การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กฤษฎากร ผาสุข
วรวุฒิ มั่นสุขผล
วรวุฒิ มั่นสุขผล
อนิรุทธ์ สติมั่น
เอกนฤน บางท่าไม้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 1 โรงเรียน รวมนักเรียนจำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา 3) กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา 4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลวิจัยพบว่า 1) คุณภาพกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา วิชาวิทยาการคำนวณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.86, S.D. = 0.35) 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน (gif.latex?\bar{X} = 13.37, S.D. = 1.78) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X} = 5.07, S.D. = 1.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} = 9.71, S.D. = 1.38) 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา วิชาวิทยาการคำนวณ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.44, S.D. = 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Al-mustafa, A. (2016). A development of web-based instruction via stem education on application development for grade 9 students. Journal of Industrial Education. 15 (2) : 52-53. (in Thai)

Thanyakunodom, H. (2018). The development of Project-based and Blended Learning activities using group process Learning to Enhance competency in computer programming and Behavior’s team working of Mathayomsuksa 3 Students. A thesis for the degree of master of education in Educational Technology Development Silpakorn University. (in Thai)

Sangkhawethai, J. (2019). Coding and education in the 21st century. IPST MAGAZIN. 47 (220) : 34-35. (in Thai)

Klaisang, J. (2013). E-learning courseware: Concepts into practice for teaching and learning e-learning at every level. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University. (in Thai)

Jolumluk, K. (2017). Effects of e-Learning by using problem-based learning for critical thinking ,the problem solving ability and cooperative of undergraduate students faculty of education. A thesis for the degree of master of education in Educational Technology Development Silpakorn University. (in Thai)

Nilpan, M. (2015). Educational research methods. Nakhon Pathom: Faculty of Education Silpakorn University. (in Thai)

Ministry of Education (Thailand). (2019). “Announcement from the Thai Ministry of Education Subject: Policy and Focus of the Ministry of Education, Fiscal Year 2020” August 21.

Mahawijit, P. (2015). Adjusting the way of learning design for learners in the 21st century. IPST MAGAZIN. 43 (192) : 35. (in Thai)

Sriumdee, P. (2012). The effects of blended learning by using problem solving learning activities of information technology subject on problem solving skills and learning achievement of matthyomsuksa 2 students, Princess Sirindhorn's College. A thesis for the degree of master of education in Educational Technology Development Silpakorn University. (in Thai)

Phonchaiya, S. (2014). STEM education and advanced thinking. IPST MAGAZIN. 42 (189) : 7. (in Thai)

Sinthapanon, S. (2018). Innovation in teaching and learning for new teachers to develop the skills of learners in the 21st century. Bangkok: 9119 Technic Printing Limited Partnership. (in Thai)

Tantitheerasak, S. (2015). The practice of peer assisted learning in blended learning with social network to promote programming skills for matayomsuksa 5 students. A thesis for the degree of master of education in Educational Technology Development Silpakorn University. (in Thai)

Karemee, S. (2017). Using engineering design processes to enhance creativity and problem solving skills. IPST MAGAZIN. 46 (209) : 23. (in Thai)