มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: 1) มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, 2) การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, และ 3) มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรคือ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 205 โรงเรียน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธกับการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า: 1) มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปิยวาจา ทาน อัตถจริยา และสมานัตตตา, 2) การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติหน้าที่ครู และความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน, และ 3) มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ปิยวาจา ทาน อัตถจริยา และสมานัตตตา มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.895 ค่าประสิทธิภาพในการทำนาย เท่ากับ 0.796 ในลักษณะนี้หมายความว่า มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามแนวพุทธส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 79.60
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.