อนาคตภาพการศึกษาไทยยุค 4.0

Main Article Content

กาญจนา คุณารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นอนาคตภาพของการศึกษาไทยยุค 4.0 ดำเนินการวิจัย ด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับอนาคตภาพของการศึกษาไทยในปัจจุบัน เพื่อนำผลมาสร้างแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดสรรแล้วจำนวนเก้าคน เกี่ยวกับอนาคตภาพทางการศึกษา แล้วนำไปสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้นำทางการศึกษาระดับสูง จำนวน 41 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม 2562 ซึ่งครอบคลุม 10 ด้าน คือ แนวคิด วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดประสงค์ เป้าประสงค์ด้านผู้เรียน เป้าประสงค์ของการจัดการศึกษา การศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา ผลการวิจัย พบว่า อนาคตภาพการศึกษาไทยยุค 4.0 เกี่ยวกับแต่ละด้านต่างๆ ดังนี้ (1) การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญในเรื่องการค้นหาเทคนิควิธีการใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าตามทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เน้นผลลัพธ์ของการศึกษาเป็นสำคัญ จัดการศึกษาโดยคำนึงถึงผู้รับบริการ โดยเฉพาะในช่วงอายุของเด็กวัยหกปีแรก ซึ่งเป็นช่วงบ่มเพาะชีวิตอย่างมีคุณค่าทั้งในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรมและจริยธรรม ทักษะทางด้านดิจิทัล และความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาอังกฤษ มีความสามารถในการแข่งขันและต้องทำงานกับคู่แข่งได้ด้วย (2) ต้องให้ทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในช่วงศตวรรษที่ 21 มีการขยายการศึกษาภาคบังคับให้ถึง 12 ปี จัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอ่าน รักที่จะเรียนรู้อาชีพและมีความรับผิดชอบพัฒนาโรงเรียนทั่วทั้งประเทศให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน เตรียมคนเพื่อการเรียนรู้และดำรงชีวิตในโลกของเทคโนโลยี การประเมินผลการศึกษาควรพิจารณาจากผลการปฏิบัติจริง ลดเวลา *คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย รศ.ดร.ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย **อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศ.ดร.ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. ในการสอน ครูเป็นสื่อ ผู้สนับสนุน ผู้วางแผน ผู้วินิจฉัย และผู้อำนวยความสะดวก และกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่ดีกว่าเดิม เพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่อาชีพ (3) ระบบและกระบวนการจัดการศึกษาต้องเอื้อให้คนไทยทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรมของการศึกษาทุกระดับ และส่งเสริมการเป็นสังคมผู้ผลิต (4) วัตถุประสงค์ของการศึกษาพึงเน้นไปที่ การพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ พัฒนาความรอบรู้ของผู้เรียนในทุกด้าน (5) เป้าประสงค์ด้านผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะ ทักษะการเรียนรู้ในด้าน 3Rs และ 8Cs (6) ประชาชนทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และมาตรฐานอย่างทั่วถึง หน่วยงานและสถาบันการศึกษาทุกแห่งสามารถบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยคุณภาพ ตามมาตรฐานระดับสากล (7) การศึกษาปฐมวัยพึงพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยใช้วิธีการสอนแบบเล่นปนเรียน พัฒนาทักษะการใช้อวัยวะในการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา (8) การศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อการมีงานทำในอนาคต วางรากฐานทักษะอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สร้างค่านิยมเพื่อการมีงานทำ วางแผน การเรียนเพื่อประกอบอาชีพ โดยใช้กระบวนการแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ (9) คำนึงถึงการพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาให้ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่งเสริมการจัดการศึกษาทวิวุฒิและระบบทวิภาคีในสถานประกอบการที่มีมาตรฐาน พัฒนามาตรฐานและจัดการประเมินสมรรถภาพวิชาชีพครูอาชีวศึกษา ส่งเสริมทักษะการทำงาน การประกอบอาชีพอิสระและการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน และ (10) การอุดมศึกษาให้ตระหนักในเรื่องการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการกำลังคน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ และมีการประเมินผลตามสภาพจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)