ความสัมพันธ์ของการสอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษากับทฤษฎีหลังการสอน กรณีศึกษา สาขาวิชาภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์

Main Article Content

ภัทรปภา ทองแท่งใหญ่

บทคัดย่อ

บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาวิธีการสอนภาษาจีนของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษา โดยผู้เขียนได้นำสาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นกรณีศึกษาด้านปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย บทความเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงทฤษฎีหลังการสอน (Post-method Pedagogy) ของ Kumaravadivelu จากนั้นวิเคราะห์วิธีการสอนและปัญหาด้านต่าง ๆ ที่พบในการเรียนการสอนภาษาจีนของคณะศึกษาศาสตร์ ผลการวิเคราะห์พบว่า สาขาวิชาภาษาจีนมีปัญหาที่สำคัญอยู่ 3 ด้าน คือ 1.) วิธีการสอนของผู้สอนยังไม่หลากหลาย 2.) การเรียนการสอนที่เน้น “เนื้อหาความรู้” เป็นหลัก มองข้ามการนำความรู้มาประยุกต์เป็น “การฝึกฝนทักษะ” 3.) ผู้สอนให้ความสำคัญกับพื้นหลังความรู้ภาษาจีนที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละบุคคลน้อยเกินไป ในส่วนท้ายบทความ ผู้เขียนได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีหลังการสอนมาใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้นดังนี้1.ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีสอนแบบเฉพาะเจาะจง 2.ผู้สอนควรให้ความสำคัญกับการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ3. ผู้สอนควรตระหนักถึงการจัดการเรียนรูที่เนนความแตกตางของผู้เรียน ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาข้างต้นล้วนเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)