ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

Main Article Content

ชนะคมศร คงยืน
มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู ครูพิเศษสอน และบุคลากรทางการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม จำนวน 117 คน ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างออนไลน์ด้วย Google Form การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และจัดแยกข้อมูลในรูปแบบ SWOT Analysis และการตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา พบว่า บุคลากรขาดความรู้เรื่องการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำสู่ไป การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

  2. แนวทางการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม  พบว่า ควรส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มุ่งไปสู่สถาบันการอาชีวศึกษาเฉพาะทาง ที่ตอบสนองกับแรงงานในชุมชน สังคม และท้องถิ่น มีการจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้ความรู้ ทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัล เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chue-in W. (2012). “The Concept of Postgraduate Education Management for Sustainable Development”. Srinakarin Vejsarn 27(1): 77-93.

Nakhon Pathom Technical College. (2020). Assessment report and quality monitoring according to standards school education (Self-Assessment Report : SAR) for the academic year 2020. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Technical College.

Ngourungsi K. (2016). “Education for Sustainable Development (ESD)”. Journal of the Association of Researchers 21(2): 15-16.

Office of the Education Council. (2017A). National Education Plan B.E. 2560-2036. 2nd ed. Nonthaburi: 21 Century Co.,Ltd.

Office of the Education Council. (2017B). National Education Standards 2018. Nonthaburi: 21 Century Co.,Ltd.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). The 20-Year National Strategy (2018-2037). [Online]. Retrieved October 12, 2021, from https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view.

Phisanu F. (2008). Classroom Action Research: Principles and Practice Techniques. 7th ed. Bangkok: Dan Sutta Printing Co., Ltd.

Wiangkamon A. Y. and Siribanphithak P. (2013). “Strategies for Academic Administration of Educational Institutions fundamentals to promote sustainable development”. Journal of Education 41(3): 38-47.

UNESCO. (2017). Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives. Paris: United Nations Educational, Scientific and Culture Organization.