การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคงทนด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับสมุดภาพตามแนวทฤษฎีประสาทวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3

Main Article Content

ภาคิม เก้าเอี้ยน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับสมุดภาพตามแนวทฤษฎีประสาทวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับสมุดภาพตามแนวทฤษฎีประสาทวิทยาศาสตร์เมื่อผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับสมุดภาพตามแนวทฤษฎีประสาทวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 กลุ่ม 1HT/62 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับสมุดภาพตามแนวทฤษฎีประสาทวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3) แบบวัดความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับสมุดภาพตามแนวทฤษฎีประสาทวิทยาศาสตร์ รวมระยะเวลาการทำวิจัย 18 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
(t-test dependent)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคงทนด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังจัดการเรียนรู้และเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปแล้ว 14 วัน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่1 อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (M) อยู่ที่ระดับ 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) อยู่ที่ระดับ .68


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Atkinson, R. C., & Shiffrin, R. M. (1968). Chapter: Human memory: A proposed system and its
control processes. In Spence, K. W., & Spence, J. T. The psychology of learning and motivation (Volume 2). New York: Academic Press. pp. 89–195.
Lewin, K. (1939). Field Theory and Experiment in Social Psychology: Concepts and Methods.
American Journal of Sociology, 46(6), 868-896.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). The Twelfth National
Economic and Social Development Plan (2017-2021). [Online]. Retrieved February 20, 2020, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (in Thai)
United Nations. (2021). Thematic Working Group on Migration (Thailand). Retrieved February
20, 2020, from http://www.un.or.th
Kaoian, K. (2017). The Development of Social and Cross Cultural Skills and Finding Main
IdeaCompetences in English through Group Process to Integrated ContemplativeEducation for Matthayom 6 Students. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction. Silapakorn University. (in Thai)
Khammani, T. (2010). Teaching Sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House.
(in Thai)
Kiattiwit K. (2013). Brain Hack: Amazing facts about the superpower of your brain.
1st. edition. Nonthaburi: Think Beyond. (in Thai)
Johnson, DW, & Johnson, RT. (1987). Learning together and alone: Cooperative, competitive,
and individualistic learning. Prentice-Hall.
Phatphon, M. (2018). Documents for learning Neuroscience and Cognition. Interdisciplinary
Studies of Social Science. Srinakharinwirot University. Bangkok. (in Thai)
Kullananun, T.(2019). Neuroeducation : The goal is increasing human capital in Thai children
now and in the future. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University. 6(2): 169-183. (in Thai)
Metivier, A. (2021). Roman Room: One Of The Most powerful Memory Palace Strategies
Retrieved: https://www.magneticmemorymethod.com/roman-room/
Nillapun, M. (2015). Education Research Methodology. 9th edition. Nakhon Pathom:
Faculty of Education, Silpakorn University. (in Thai)
Stafford, T. (2005). Mind Hacks: Tips & Tools for Using Your Brain. 1st edition USA: O'Reilly Media.
Chaoha, W. (1990). Instructional media. Bangkok, Odeon Store.
Patanaponasa, N. (1999). Strategic communication campaigns to change human behavior focus on
specifics Group. Chiang Mai: Green Ruean Publishing House. (in Thai).
Platapiantong, T., Thienpermpool, P. (2020). The Development of Vocabulary Learning Achievement and Retention Using Mnemonics and Vocabulary Picture Books For Grade 6 Students of Anuban Nakhon Pathom School. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences. 3(3), pp 533-547. (in Thai).
Beasley, N. (2021). Why Semantic Memory is Important. Retrieved February 20, 2020, from https://www.betterhelp.com/advice/memory/why-semantic-memory-is-important/
Wonganutrohd, P. (2005). Instructional supervision. Bangkok: Bangkok Media Center. (in Thai).
McIntyre T. (2020). Teaching Social Skills to Kids Who Don’t Have Them. Retrieved February 20, 2020, from http://www.behavioradvisor.com
Lado, R. (1996). Language Learning Teaching and Learning English. New York: McGraw-Hill.