Development of Teamwork Skills for Army Non-Commissioned Officer Student: Engineer Corps Use Case Study and Jigsaw Technique

Main Article Content

วิชมัย ญาณกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนนายสิบ โดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายสิบ ก่อนและหลังการสอนโดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนายสิบ ที่มีต่อการสอนโดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายสิบทหารบก เหล่าทหารช่าง รุ่นที่ 24 ปีงบประมาณ 2564 ที่กักตัวอยู่บริเวณโรงนอนที่ 1 ถึง 6 ของกองร้อยนักเรียนนายสิบที่ 1 กองพันนักเรียน โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง จำนวน 47 นาย โดยการรับสมัครด้วยความสมัครใจ (Volunteer Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) และการทดสอบค่าที แบบ dependent (t-test dependent) 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนนายสิบจากการวัดครั้งที่ 1 กับ ครั้งที่ 3, ครั้งที่ 1 กับ ครั้งที่ 4 และครั้งที่ 2 กับ ครั้งที่ 4 มีพัฒนาการที่สูงขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายสิบ เรื่องแบบขยายส่วนประกอบอาคาร หลังการสอนโดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความพึงพอใจของนักเรียนนายสิบที่มีต่อการสอนโดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)