แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่การสร้างนวัตกรรมโดยใช้แนวคิดของเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติ

Main Article Content

กมล โพธิเย็น

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ในโลกยุคศตวรรษที่ 21   มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0   ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมเช่นเดียวกัน  การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนจะเป็นการมุ่งเน้นการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎีจากตำราต่างๆ ที่ได้มีผู้คิดค้นไว้แล้วแต่หากครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้เพียงเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากตำราสู่ผู้เรียนก็คงจะไม่สามารถทำให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาขึ้นได้   Sternberg  ได้พัฒนาทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบขึ้นและได้มุ่งเน้นถึงเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติ (Practical Intelligence)  ซึ่งเป็นความสามารถของมนุษย์ของทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contexual Subtheory)  ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบ ที่มนุษย์สามารถจะปรับแต่งสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข กล่าวคือ เป็นความสามารถของมนุษย์ในการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้จากทฤษฎี ตำราในชั้นเรียนที่เป็นเชาวน์ปัญญาเชิงวิชาการ (Academic  Intelligence)  มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน ประกอบด้วยความสามารถด้านการใช้ความรู้ (Use) ความสามารถด้านการประยุกต์ (Apply) ความสามารถด้านการตรวจสอบ ทบทวนความรู้ (Implement) และความสามารถด้านการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติจริง (Pracetice) ดังนั้น เชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติ (Practical Intelligence) จึงเป็นแนวคิดที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ทางทฤษฎีที่ได้จากการเรียนรู้ในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ซึ่งสอดคล้องกับบริบทสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

Kamol Phoyen. (2004). “A MODEL FOR DEVELOPMENT SYSTEMATIC THINKING. TO IMPROVE THAI LANGUAGE WRITING SKILL ABILITIES FOR UNDERGRADUATE STUDENTS BASED ON TRIARCHIC THEORY AND SCAFFOLDING APPROACH.” Doctor of Philosophy, Educational Psychology, Graduate School, Chulalongkorn University.
Peters. (1987). Practice Intelligence : working smarter in business and everyday life. New York : Harper & Row.
Sternberg, R.J., Jarvin, L. and Grigorenko, E. L. (Eds.) (2009). “Teaching for wisdom, intelligence, creativity and success.” Corwin Press.
Sternberg, R.J. (2004). Applied intelligence. Cambridge : Cambridge University Press.
Sternberg and Grigorenko. (2002). Teaching for Successful Intelligence. Pearson Education Indochina Ltd.
Sternberg, R.J. et al. (2001). “The relationship between Academy and Practical intelligence : A case study in Kenya.” Intelligence 29, 5 : 401-418.
Sternberg, R.J. (1999). Cognitive psychology. 2nd ed. Fort Worth : Harcour Brace College Publishers.
Sternberg, R.J. (1997). Successful intelligence. First Agency Publishing.
Sternberg, R.J. (1996). Successful intelligence : how practical and creative intelligence determine success in life. New York : Penguin Group.
Sternberg and Gardner. (1996). Handbook of Creativity. Cambridge : Cambridge University Press.
Sternberg, R.J. and Spear-Swerling, L. (1996). Teaching for Thinking. Washington D.C. : American Psychological Association.
Sternberg, R.J. (1994). “Diversifying instruction and assessment.” The Education Forum 59: 48-52.
Sternberg, R.J. (1986). Intelligence applied : understanding and increasing your intelligence skills . San Diego: Harcourt Brace Jovanovich, cop.
Sternberg, R.J. (1985). “Beyond IQ: A triarchic theory of human intelligence.” CUP Archive.
Wendy, Williams et al. (1996). Practice Intelligence for school. U.S.A. : Harpercollege.