สอนอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Main Article Content

กมล โพธิเย็น

บทคัดย่อ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณนับเป็นทักษะกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างเสริม พัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องในการจัดการเรียนรู้ในทุกรายวิชาของหลักสูตร เนื่องจากสังคมปัจจุบันเป็นยุคของโลกไร้พรมแดน เป็นยุคที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันความสามารถในการกลั่นกรอง คัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง มีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งเป็นข้อมูลที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อผู้คนนั้นยังมีค่อนข้างน้อยมาก พบว่าโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้เรียนซึ่งยังเป็นเยาวชนยิ่งมีความสามารถในการกลั่นกรองความน่าเชื่อถือ ความเป็นไปได้ของข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากยังไม่มีเครื่องมือในการกลั่นกรอง เลือกสรรข้อมูลข่าวสารที่มีความน่าเชื่อถือได้ ดังนั้นจึงตกเป็นเหยื่อหรือได้รับผลกระทบในทางลบต่อตนเองถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 จะเน้นถึงความสำคัญของทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คนที่จะช่วยกลั่นกรองความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ของข้อมูลที่ได้รับมาเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสอนให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นจะต้องมีขั้นตอนสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเข้ามาและสามารถใช้หลักการของเหตุและผลเพื่อมาประเมินข้อมูลในแง่มุมของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้นจนสามารถจะตัดสินใจใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

Bloom, B.S. (1976). Humancharacteristic and school learning. New York : McGraw – Hll Book.
Decaroli, J. (1973) “What Reason Say To The Classroom Teacher : Critical Thinking”. Social Education 37, 1 (January 1973) : 67 – 68.
Dewey, John. (1993). How We Think. New York, Dc. : American Council on Education.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum: 2008 (in Thai).
Bangkok : Agricultural Cooperative Association of Thailand Printing House Co.,Ltd.
Penpisut Nekmanurak. (1994). Development of a model of developing critical thinking
for teacher students (in Thai). Doctorate of Education Thesis graduate school.
Chulalongkorn University.
Sirikan Kosoom and Daranee Kamwatnang. (2001). Teaching children to think (in Thai).
Bangkok : Tip Publication.
Sunee Phajonsilp. (2004). Effects of Trisikkha teaching on learning achievements in
social studies and critical thinking of Prathomsuksa 6 students. Thesis,
Education (Curriculum and Instruction), Nakhon Sawan : graduate school Nakhon Sawan Rajabhat Institute.
Supathida Sripongwiwat. (2005). A study of critical thinking of learners using networked
learning designed according to the constructivist theory of learning : materials
for undergraduate students Faculty of Education Khon Kaen University.
Master’s thesis Khon Kaen University.
Suwit Munkham. (2002). Critical Thinking Teaching Strategies (in Thai). (3rd printing).
Bangkok : Pubpim.
Thiphawadee Klikhachai. (2004). A study of Critical Thinking Competent of Students at
the Basic Education Level of Private Schools in the Education Area of Bangkok
Metropolis. Bangkok : Thesis graduate school Srinakharinwirot University
Prasarnmit.
Tissana Khammanee. (2005). Pedagogical science : knowledge for organizing learning
processes that promote problem solving abilities for students in higher
education (in Thai). Journal of Education. Mahasarakham University. 12th (No.12)
83 – 96.
Usanee Anuruttawong. (2002). Training children to be thinkers (in Thai). Bangkok :
Sodsri – Saritwong Foundation.
Wanida Panto. (2000). A Comparison of Confidence of Critical Thinking Tests on
Different Scoring and Number of Items in Some Tests. Graduate School of
Education (Education Assessment). Bangkok : Graduate School Srinakharinwirot
University Prasarnmit.
Watson, G and Glaser, E.M. (1964). Watson – Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. New York : Harcourt Brace and World.