การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

สิริกร ทิติยวงษ์
มาเรียม นิลพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ3) เพื่อขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินทักษะอาชีพ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t- test dependent samples และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) ชื่อรูปแบบการเรียนการสอน คือ “PILLARS Model” มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน ประสิทธิภาพของรูปแบบ คือ 85.83/82.23 2) หลังเรียนนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ต่างกันมีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระหว่างเรียนนักเรียนมีพัฒนาการนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น 3) หลังเรียนนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ต่างกันมีทักษะอาชีพสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระหว่างเรียนนักเรียนมีพัฒนาการทักษะอาชีพสูงขึ้น 4) หลังเรียนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด 5) ผลการขยายผลพบว่าหลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มขยายผลการวิจัยที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนมีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และทักษะอาชีพสูงกว่าก่อนเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)