การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษา Python ที่มีต่อความสามารถในการเขียนโปรแกรมและผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อประเมินคุณภาพแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.เพื่อประเมินผลความสามารถในการเขียนโปรแกรมและผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 3.เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน 4.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.64 , S.D.=0.44 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และผลการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษา Python โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.67 , S.D.=0.44 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2) ผลความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนกลุ่ม 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.69 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และนักเรียนกลุ่ม 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 2.31 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เมื่อนำมาทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 3.957 กล่าวคือคะแนนความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนเฉลี่ยกลุ่มที่ 1 สูงกว่า กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนกลุ่มที่ 1
ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนกลุ่ม 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.02 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และนักเรียนกลุ่ม 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 1.40 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เมื่อนำมาทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 5.621กล่าวคือคะแนนความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนเฉลี่ยกลุ่มที่ 1 สูงกว่า กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันพบว่าผลการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่ม 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.69 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และนักเรียนกลุ่ม 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 2.31 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เมื่อนำมาทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 3.957 4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา ((x ) ̅=4.61 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ((x ) ̅=4.54 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการออกแบบ ((x ) ̅=4.70 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา ((x ) ̅=4.54 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับดีมากและด้านประโยชน์ ((x ) ̅=4.50 , S.D. = 0.62) อยู่ในระดับดี
การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษา Python ที่มีต่อความสามารถในการเขียนโปรแกรมและผลงานการเขียนโปรแกรม