ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานด้านสื่อและพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษารายวิชา การผลิตรายการโทรทัศน์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก4. เพื่อประเมินผลงานการผลิตสื่อเชิงสร้างสรรค์ วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา 5. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) นักศึกษาปริญญาตรีชั้น ปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 34 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ได้แก่ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กิจกรรมบทเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ของอาจารย์และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ 3) บทเรียนออนไลน์วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ ผลการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับ
การจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา ในวิชา การผลิตรายการโทรทัศน์ 5) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษารายวิชา การผลิตรายการโทรทัศน์ 6) แบบประเมินผลงานการผลิตสื่อเชิงสร้างสรรค์ คะแนนผลงานสื่อรายการโทรทัศน์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา 7) แบบประเมินความคิดเห็นสำหรับนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาขั้นตอนกิจกรรมการเรียนพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา วิชา การผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา มาสังเคราะห์ขั้นตอนการเรียนการสอนแบบออนไลน์พร้อมรวมเป็นขั้นตอนกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานด้านสื่อ และพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล โดยพัฒนาเป็นของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม ให้กลายมาเป็นการเรียนออนไลน์ด้วย Google Classroom โดยแผนการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา วิชา การผลิตรายการโทรทัศน์ มีค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนการรู้แบบกรณีศึกษา พบว่า บทเรียนออนไลน์ โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (x̄=4.56, S.D.=0.06) ผลการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาที่โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (x̄=2.54,S.D.=0.27) ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนเรียนและหลังเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีผลการเรียนหลังเรียน (x̄=23.52,S.D.=0.78) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄=19.82,S.D.=2.50) ผลพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี (x̄=4.49, S.D.=0.11) คะแนนผลงานการผลิตสื่อเชิงสร้างสรรค์ สื่อรายการโทรทัศน์ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น (x̄=2.75, S.D.=0.08) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x̄=4.81, S.D.=0.03)