การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

ภัทรา อุ่นทินกร
มาเรียม นิลพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดSTEM  Education เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพการพัฒนารูปแบบการสอน 2) เพื่อประเมินประสิทธิผล ของการพัฒนารูปแบบการสอน  3) เพื่อขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินนวัตกรรม แบบประเมินผลสัมฤทธิ์และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย()และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการสอนตามแนวคิด STEM  Education เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา  มีชื่อว่า “5P Model”  มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัด และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้น คือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem Identifying: P)  2) เตรียม ( Providing for Processing : P ) 3) กระบวนการ(Planning innovation: P) 4) ต้นแบบ (Prototyp Creating:P) 5)นำเสนอนวัตกรรม (Presenting) ประสิทธิภาพของรูปแบบ 82.17/81.08  (2)หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนนักเรียนมีพัฒนาการในการสร้างนวัตกรรมสูงขึ้นจากระดับพอใช้เป็นระดับดีมาก และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รับ .05  (3) ผลการขยายผล พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนกลุ่มขยายผลมีพัฒนาการในการสร้างนวัตกรรมสูงขึ้นจากระดับพอใช้เป็นระดับดีและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)